เครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดีตามแนวคิดพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • กนกรัชต์ สุดลาภา พยาบาลวิชาชีพสุขภาพจิต, คลินิกสุขภาพจิตโรงพยาบาล World Medical สาขา สำนักงานสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ, ปทุมธานี

คำสำคัญ:

เครือข่ายพลเมือง, สุขภาพจิต, พุทธจิตวิทยา กระบวนการ การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

            บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตหลังสถานการณ์โควิด 19 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 -2565 ที่ผ่านมา เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ สังคม และส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชน ได้แก่ การเกิดภาวะความเครียด ความวิตกกังวลจากการประกอบอาชีพ ภาวะหมดไฟในการทำงาน และโรคซึมเศร้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดีวิถีพุทธจิตวิทยาเพื่อนำไปใช้เป็นกระบวนการพัฒนาสุขภาพจิตดีด้วยการสร้างความตระหนักรู้ตนเอง พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการกับปัญหา โดยนำหลักพุทธธรรมสังคหะวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยะวาจา อัตถะจริยา สมานัตตา เพื่อนำไปเป็นการพัฒนาจิตใจภายในเครือข่ายโดยบูรณาการนำไปใช้ในการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้แก่ประชาชนให้มีสุขภาพจิตดีและสามารถจัดการปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดโรคทางจิตเวชในอนาคตของประชาชนและทำให้พลเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุขในการดำเนินชีวิตต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต, (2545). โปรแกรมสร้างสุขวัยทำงานในชุมชน. กรุงเทพฯ : บริษัทบียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). 2556. พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พุทธทาสภิกขุ, (2525). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2537). พระไตรปิฎกพระอมอรรถกถาแปล, ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2538). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). พจนานุกรมการสาธารณสุขไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (2559). สมุทรสาคร : บ. บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.

ศศิธร พงษ์โภคา. (2554). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

องค์การอนามัยโลก. (2004). การส่งเสริมสุขภาพจิต: แนวคิด หลักฐาน และแนวทางปฏิบัติแผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต. เชียงใหม่ : หจก.วนิดาการพิมพ์.

Bandura, A. (2022). Perceived Self-efficacy in the Exercise of Personal Agency. evista Española de Pedagogía, 48(187), 397-427.

Duval, T. S., & Wicklund, R. A. (1972). A theory of objective self awareness. Oxford, England: Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

สุดลาภา ก. (2023). เครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดีตามแนวคิดพุทธจิตวิทยา . วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(1), 431–441. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/267425