องค์ประกอบและลักษณะกรรมของตัวละครในนวนิยาย เรื่อง เพรงกรรม ของ โบตั๋น

ผู้แต่ง

  • ประภาพร ธนกิตติเกษม สาขาวิชาสหวิทยาการ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, กรรมตัวละคร, นวนิยาย, โบตั๋น

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์นวนิยายสะท้อนกรรมของตัวละครในนวนิยาย เรื่อง เพรงกรรม ของ โบตั๋น ประเด็นที่วิเคราะห์ ได้แก่ องค์ประกอบและลักษณะของกรรมตัวละครในนวนิยาย เก็บข้อมูลจากตัวบทนวนิยาย โดยใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกบุคลิกลักษณะของตัวละคร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลบุคลิกลักษณะตัวละครซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งกรรมที่ปรากฏในนวนิยาย ผลการวิจัยพบว่า มูลเหตุแห่งกรรม มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) ลักษณะบุคลิกภาพของตัวละครที่มีลักษณะบุคลิกภาพที่มีแรงกระตุ้นปฐมภูมิ-ทุติยภูมิ พบ 8 ลักษณะ ได้แก่ คนในครอบครัวไม่เกื้อกูลกัน สูญเสีย ประจบสอพลอ ยอมจำนน มีปมด้อย ถูกแย่งความรัก ชิงดีชิงเด่น ประพฤติผิดในกาม 2) ลักษณะบุคลิกภาพของตัวละครที่มีลักษณะบุคลิกภาพที่มีแรงกระตุ้นชัดเจน-ปิดบัง พบ 2 ลักษณะ ได้แก่ ยึดมั่นถือมั่น ไม่ใส่ใจในสิ่งดีหรือร้าย 3) ลักษณะบุคลิกภาพของตัวละครที่มีลักษณะบุคลิกภาพที่มีแรงกระตุ้นเจาะจง-ไม่กระจ่าง พบ 2 ลักษณะ ได้แก่ ขอที่พึ่งพิง ใส่ใจไมตรีต่อผู้อื่น 4) ลักษณะบุคลิกภาพของตัวละครที่มีลักษณะบุคลิกภาพที่มีแรงกระตุ้นภายใน-ภายนอก พบ 3 ลักษณะ ได้แก่ เคราะห์ร้าย ถูกบังคับ หลอกลวง

References

กิ่งแก้ว อัตถากร.(2563). สวามี วิเวกานันทะ คุรุของผม. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ดาไล ลามะ. (2553). 365 ดาไล ลามะ วัจนะจากใจ [365 Dalailama: Daily Advice from The Heart] (สมลักษณ์ สว่างโรจน์ ผู้แปล). กรุงเทพฯ : แสงดาว.

ดวงมน จิตร์จำนง.(2560). วิจารณัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นจำกัด (มหาชน).

ทยาลุ. (2561). วันวามเมื่อวันวาน. มหาสารคาม : บริษัทสารคามการพิมพ์ จำกัด.

โบตั๋น. (2553). เพรงกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก.

ประภาพร ธนกิตติเกษม. (2562). เรื่องเล่าสะท้อนกรรม. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 5(2), 231-250.

พระสุทัศน์ โกสโล.(2561). ปฏิปทาเล่ม 3 สู่ความดับทุกข์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : สำนักพิมพ์สุภา.

พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ และ แม่ชีจำเรียง กำเนิดโทน.(2563). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสาร มจรบาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 6(1), 40-53.

รัญจวน อินทรกำแหง. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นาคร.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556). วรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรพันธ์ โลกิตสถาพร. (2557). ชีวิตมีไว้ก้าวเดิน. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์คำ.

ศ.ศาสตรา. (2563). สมาธิวันละ 5 นาที ชนะทุกข์พิชิตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เก็ทไอเดีย.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2562). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ รู้เขา รู้เรา (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ส.ศิวโรจน์. (2563). แก้กรรมทำบุญอย่างไรให้ชีวิตพ้นทุกข์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟิลกู๊ด.

สุวัฒน์ จันทรจำนง. (2547). หนังสือแก่นพุทธธรรมฉบับอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ : ตถาพับลิเคชั่นจำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25

How to Cite

ธนกิตติเกษม ป. (2023). องค์ประกอบและลักษณะกรรมของตัวละครในนวนิยาย เรื่อง เพรงกรรม ของ โบตั๋น. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(1), 185–206. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/265774