การใช้สัญลักษณ์ในบทอัศจรรย์จากนวนิยายประเภทจินตนิยายพื้นถิ่นไทย
คำสำคัญ:
สัญลักษณ์, บทอัศจรรย์, นวนิยาย, จินตนิยาย, พื้นถิ่นไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาจากงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สัญลักษณ์ในบทอัศจรรย์จากนวนิยายประเภทจินตนิยายพื้นถิ่นไทย เก็บข้อมูลจากตัวบทอัศจรรย์ในนวนิยายประเภทจินตนิยาย เรื่องสิเนหามนตาแห่งลานนา ของ บัณฑูร ล่ำซำ โดยใช้กรอบแนวคิดการใช้ภาพพจน์ประเภทสัญลักษณ์ (Symbol) ของ สมเกียรติ รักษ์มณี เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาพรรณนาวิเคราะห์ (descriptive analysis) เนื้อหาแล้วสรุปผล การศึกษาพบว่าการใช้สัญลักษณ์ในบทอัศจรรย์ที่ปรากฏในนวนิยายประเภทจินตนิยายพื้นถิ่นไทย เรื่อง สิเนหามนตาแห่งลานนา พบผู้ประพันธ์ใช้สัญลักษณ์ส่วนตัวหรือสัญลักษณ์เฉพาะบุคคล กล่าวพรรณนาถึงเหตุการณ์การมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิง ปรากฏการใช้สัญลักษณ์ 5 ประเภท คือ 1) กิจกรรมนันทนาการ 2) พืช 3) สัตว์ 4) เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ อาวุธ และ 5) ธรรมชาติ
References
การุญญ์ พนมสุข. (2549). การวิเคราะห์เปรียบเทียบอุปลักษณ์ในบทอัศจรรย์ของวรรณกรรมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2540). ภูมิปัญญาไทยในวรรณศิลป์ไพจิตร. ใน การสัมมนาภูมิปัญญาไทยในวัฒนธรรมทางภาษา. กรุงเทพฯ: โรเนียว.
ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2541). สุนทรียภาพในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ศยาม.
บัณฑูร ล่ำซำ. (2556). สิเนหามนตาแห่งลานนา. น่าน : พูคาน่านฟ้าโฮเต็ล.
ยุรฉัตร บุญสนิท. (2534). ความเป็นสากลในวรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แสงศิลป์การพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
ศุภณัฐ เทียนทอง. (2564). การใช้สัญลักษณ์ในบทอัศจรรย์จากเรื่องลิลิตพระลอ. วารสาร รัชต์ภาคย์, 15(43), 135-147.
สมเกียรติ รักษ์มณี. (2551). ภาษาวรรณศิลป์ Literary Language (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สายน้ำใจ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.