การเสริมสร้างสภาพพฤฒพลังด้วยหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่บ้านแวงน้อย ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ บุญคะเณ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประยูร สุยะใจ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, พุทธธรรม, ภาวะพฤฒพลัง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพพฤฒพลังของผู้สูงอายุและเพื่อนำเสนอผลการเสริมสร้างสภาพพฤฒพลังด้วยหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่บ้านแวงน้อย ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นผู้สูงอายุในเขตพื้นที่บ้านแวงน้อย ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพฤฒพลังของผู้สูงอายุในด้านสุขภาพภาพกายแข็งแรง เพราะมีอาชีพเกษตรกรรมทำให้ได้ออกกำลังกาย และมีสุขภาพจิตสดใสเพราะใกล้ชิดธรรมชาติ ในด้านสังคม ทำให้ตัวเองมีคุณค่าโดยสร้างความผูกพันกับสมาชิกในครอบครัว สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนสม่ำเสมอ ในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีการวางแผนการใช้จ่ายเงินร่วมกับสมาชิกในครอบครัวและพยายามพึ่งพาตนเองด้วยอาชีพที่ทำ และในด้านที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยในที่ดินตนเองด้วยรายได้ตนเองและจากลูกหลาน และ 2) ผู้สูงอายุเสริมสร้างสภาพพฤตพลังด้วยการใช้หลักพรหมวิหารธรรมเป็นหลักสำคัญในการวางตน เป็นผู้สูงอายุที่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับคนในครอบครัวและชุมชน ใช้สังคหวัตถุธรรมเป็นหลักในรูปของการแบ่งปัน ใช้คำพูดที่เหมาะสม ช่วยเหลือด้วยแรงกายตามโอกาส และวางตนเองสม่ำเสมอกับคนในครอบครัวและชุมชน และใช้หลักไตรลักษณ์เป็นเครื่องพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต ทำให้รู้จักปล่อยวางและสร้างกำลังใจให้ตนเองเมื่อประสบเหตุการพลัดพราก

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). การเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/5/269

ตระกูล พุ่มงาม และ สุวัฒสัน รักขันโท. (2564) สุขภาวะแนวพุทธของผู้สูงวัย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 467-480.

พระปลัดสมชาย ดำเนิน และพระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดพฤฒพลังวิถีพุทธของผู้สูงอายุกลุ่มผู้เกษียณราชการ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 209-227.

ศิริวรรณ พิริยคุณธร และคณะ. (2557). ประสบการณ์การนำหลักคำสอนทางพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในชุมชนชนบท. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์, 34(2),39-52.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2558). ก้าวสู่สังคมสูงวัย ไอเดียดี โอกาสมา. กรุงเทพฯ : บริษัท คูน แอนด์ โค จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/domographic/Active%20Ageing/Active%20Ageing%20Index.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต สศช. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2563, จาก https://social.nesdc.go.th/social/

อุดมพร ชั้นไพบูลย์. (2559). การประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อความสมดุลในชีวิตสำหรับผู้สูงวัย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 35(1), 41-64.

อัจฉริยา ปัญญาแก้ว และคณะ. (2564). ระดับพฤฒพลังและรูปแบบการใช้เวลาในกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุที่มีภาวะพฤฒพลัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(1), 177-188.

อำไพ ลีละรัตนวงศ์ และ สุวัฒสัน รักขันโท. (2564). สุขเกษียณด้วยหลักธรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 455-440.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23