ประเภทคำทางวัฒนธรรมและกลยุทธ์การแปลในบทคัดย่อพะเยาวิจัย ครั้งที่ 9-11 (พ.ศ.2563-2565)
คำสำคัญ:
คำทางวัฒนธรรม, กลยุทธ์การแปล, พะเยาวิจัยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องประเภทคำทางวัฒนธรรมและกลยุทธ์การแปลในบทคัดย่อพะเยาวิจัยครั้งที่ 9-11 (พ.ศ.2563-2565) เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเภทของคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีที่ใช้ในการแปล ในบทคัดย่อพะเยาวิจัยครั้งที่ 9-11 (พ.ศ.2563-2565 แหล่งข้อมูลวิจัย ได้แก่ บทคัดย่อพะเยาวิจัยครั้งที่ 9-11 (พ.ศ.2563-2565) ที่คัดจากกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 24 เรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัยด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของไทยเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกประเภทคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมที่พบในพะเยาวิจัยครั้งที่ 9-11 (พ.ศ.2563-2565) ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น และคำนวณความถี่ของประเภทของคำทางวัฒนธรรมและกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมในบทคัดย่อเป็นร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า คำทางวัฒนธรรมในบทคัดย่อพะเยาวิจัยมีทั้งสิ้น 4 ประเภท ตามกรอบประเภทคำทางวัฒนธรรมของ Newmark (1988) 1. คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับองค์กร จารีต แบบแผน กิจกรรม กระบวนการ และความคิด พบ 47 ครั้ง (ร้อยละ 40.52) 2. คำทางวัฒนธรรมทางสังคม 38 ครั้ง (ร้อยละ 32.76) 3. คำทางวัฒนธรรมทางวัตถุ 30 ครั้ง (ร้อยละ 25.86) และ 4. คำวัฒนธรรมทางนิเวศ พบ 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.86) ส่วนกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมที่ใช้บทคัดย่อมี 9 วิธี ได้แก่ 1. การแปลโดยการใช้ 2 กลวิธี พบ 53 ครั้ง (ร้อยละ 45.69 2. การแปลโดยใช้คำยืม พบ 24 ครั้ง (ร้อยละ 20.69) 3. การแปลตรงตัว พบ 12 ครั้ง (ร้อยละ 10.34) 4. การแปลโดยใช้คำที่มีความหมายเป็นกลาง พบ 9 ครั้ง (ร้อยละ 7.76) 5. การแปลโดยการใช้คำบัญญัติ พบ 6 ครั้ง (ร้อยละ 5.17) 6. การแปลโดยการอธิบายความ พบ 5 ครั้ง (ร้อยละ 4.31) 7. การแปลโดยการแทนที่ด้วยสิ่งที่มีในวัฒนธรรมภาษาแปล พบ 5 ครั้ง (ร้อยละ 4.31) 8. การแปลโดยการสร้างคำใหม่ขึ้นมา พบ 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.86) และ 9. การแปลโดยการละ พบ 1 ครั้ง (ร้อยละ 0.86)
References
กัญชลิกา ตรีกลางดอน, อังคณา สุขวิเศษ และนันท์นลิน อินเสมียน. (2565). กลวิธีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อถ่ายทอดคำทางวัฒนธรรมไทย. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8 (1), 51-69.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2550). วัฒนธรรมทางภาษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา บริสุทธิ์. (2553). ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
พระมหาประสิทธิ์ ปสิทฺโธ. (2559). วัฒนธรรมไทย. สิรินธรปริทรรศน์, 17(2), 34-44.
พัชรี โภคาสัมฤทธิ์. (2555) การแปลสิ่งทดแทนทางวัฒนธรรมจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (รายงานผลการวิจัย). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : ม.ป.ท.
รมัณยา ทิพย์มณเฑียร. (2560). การแปลสำนวนภาษาอังกฤษจากซีรี่ย์แนววัยรุ่นเป็นภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.
วราพัชร ชาลีกุล. (2560). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ : กรณีศึกษาเรื่อง เรื่องของจัน ดารา แต่งโดย อุษณา เพลิงธรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2552). การแปลขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อธิศา งามศรี. (2560). กลวิธีการแปลคำและวลีทางวัฒนธรรมที่พบในบทแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาหนังสือเรื่อง “ครูบ้านนอก” โดย คำหมาน คนไค.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation. New York: Prentice Hall.
“________”. (1995). A Textbook of Translation. New York: Phoenix ELT.
Nasser, L. (2018). The Use of Couplet in Translating Religio-Legal terms from Arabic into English. https://doi.org/10.33899/radab.2017.164638
Pormrat, P., & Rakpa S. (2022). Cultural Terms and Translation Strategies in Dissertation Abstracts of a Buddhist University. Journal of MCH Humanities Review, 8(1), 291-307.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.