การเปลี่ยนผ่านและกฎไตรลักษณ์กับการเตรียมพร้อม: บทบาทของพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • ณัฐรดา แฮคำ กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนผ่าน, ไตรลักษณ์, การเตรียมพร้อม, พยาบาลชุมชน, บทบาท

บทคัดย่อ

ทฤษฎีของ เมลิสและคณะ (Meleis, et al. 2000)  เป็นทฤษฎีด้านการพยาบาล  กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่าน 6 ประการ 1) ชนิดและรูปแบบของการเปลี่ยนผ่าน (types and patterns of transitions) 2) คุณสมบัติของ ประสบการณ์การเปลี่ยนผ่าน (properties of transition experiences) 3) เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย และเงื่อนไขที่ยับยั้ง (facilitating and inhibiting conditions) 4) ตัวบ่งชี้ในการดำเนินการ (process indicators) 5) ตัวบ่งชี้ของผลลัพธ์ (outcome indicators) และ 6) การบำบัดทางการพยาบาล (nursing therapeutics) การยอมรับการเปลี่ยนผ่านทั้งหมดนั้นมีความสำคัญต่อการยอมรับและเตรียมความพร้อมทุกด้านในด้านการพยาบาลผู้ป่วยที่เผชิญการเปลี่ยนผ่าน เช่น การเตรียมให้ผู้ป่วยทำใจยอมรับการเปลี่ยนผ่าน เพื่อเตรียมพร้อมทุกด้าน อาทิ ความสัมพันธ์ในครอบครัว การเงิน อาชีพเป็นต้น การรับรู้และการยอมรับการเปลี่ยนผ่านเป็นประเด็นสำคัญในทฤษฎีด้านการพยาบาลโดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านด้านการบำบัดทางการพยาบาลซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมให้ผู้ป่วยยอมรับการเปลี่ยนผ่านทุกด้านทั้งตัวผู้ป่วยและด้านอื่น ๆ ที่สัมพันธ์ การยอมรับการเปลี่ยนผ่านเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวผู้ป่วยเองรู้สึกผ่อนคลายและทำใจยอมรับในความเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนผ่านเพราะเป็นกฎธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนถาวร ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธศาสนาสอนให้ชาวพุทธยอมรับความจริงชีวิตว่า ทุกสรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การยอมรับความเปลี่ยนแปลงช่วยทำให้ความทุกข์ลดลง

References

กนกพร นทีธนสมบัติ. (2555). ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน : กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ์. มฉก. วิชาการม, 6 (13), 103-115.

บุญมี ภูด่านงัว. (2556). ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน: การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลครอบครัว. วารสารสภาการพยาบาล, 8(4), 107-120.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วพิชญา หุยากรณ์. (2562). การเปลี่ยนผ่านบทบาทและการเรียนรู้ตลอดชีวิตหลังเกษียณอายุของอาจารย์มหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพฯ.

แสงเดือน กันทะขู้, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล และ ฉัตรกนก ทุมวิภาต. (2009). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. J Nurs Sc, 27(2 Suppl1), 83-91.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, พัชรี ชูกันหอม, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และ หทัยรัตน์ ขาวเอี่ยม. (2563). การประยุกต์ใช้ทฤษฏีการเปลี่ยนผ่านกับการเป็นพ่อแม่วัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2), 1-8.

Meleis, Sawyer, L. M., Im, E. O., Hilfinger Messias, D. K., & Schumacher, K. (2000). Advances in Nursing Science, 23(1), pp. 12-28.

Meleis, A. I. (2007) Theoretical Nursing Development & Progress (4th e)d. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins.

Meleis, A. I. et al. (2000). Experiencing transitions: an emerging middle-range Theory. Advanced Nursing Science, 23(1), 12-28.

Schumacher, K. L. and Meleis, A. I. (1994). Transitions: a central concept in Nursing. Image: Journal of Nursing Scholarship, 26(2), 119-127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29