ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง
คำสำคัญ:
ปัจจัย, พุทธจิตวิทยา, ความสุขในการทำงาน, บุคลากรบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง 2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยพุทธจิตวิทยากับระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง 3. เพื่อเสนอปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 รูป/คน และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และ LSD และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลางทั้ง 5 ด้าน คือ ความอิสระมีความสัมพันธ์ที่ดีทางกายและวาจา มีความรักในงานที่ทำได้รับการยอมรับในองค์กร และมีความผูกพันต่อองค์กร อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยพุทธจิตวิทยากับระดับความสุขของบุคลากรตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศและอายุที่แตกต่างกันมีความในการทำงานไม่แตกต่างกัน บุคลากรที่มีสถานะ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการทำงาน และประเภทบุคลากรที่แตกต่างกันมีความสุขในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3. ผลการศึกษาปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อการปัจจัยพุทธจิตวิทยามีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง เกิดจากการบูรณาการหลักสังคหวัตถุ 4 คือ การรู้จักแบ่งปัน การรู้จักใช้ปิยวาจา การรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ตนประโยชน์ส่วนรวม และการวางตนเสมอต้นเสมอปลาย กับทฤษฎีจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ 5 ด้าน คือ ความต้องการขั้นพื้นฐาน ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ความต้องการด้านสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการความสำเร็จแห่งตน ส่งผลให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลางมีความสุขในการทำงาน โดยวัดได้จากการที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง ทำงานด้วยความอิสระมีความสัมพันธ์ที่ดีทางกายและวาจา มีความรักในงานที่ทำได้รับการยอมรับในองค์กรและมีความผูกพันต่อองค์กร
References
กานต์พิชชา บุญทอง. (2559). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความพึงพอใจ ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงพยาบาลเอกชน กรณีศึกษาพนักงานโรงพยาบาลราชธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปรียาภรณ์ แสงแก้ว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของเจ้าหน้าที่พยาบาล โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศิลปะศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกริก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 82). กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.
พัชรินทร์ ผิวนิล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทไฮเออร์อิเลคทริค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา : ชลบุรี.
พุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป). บริหารธุรกิจแบบพุทธ. กรุงเทพฯ : อตมัมโย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2562). ประวัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2562, จาก http://www.mcu.ac.th/site/history.php
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 43). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
สมาพร ถ้ำเพชร. (2559). ความสุขในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : พระนครศรีอยุธยา.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2562). บริหารความสุขในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2562, จาก https://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104744&Ntype
Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper & Row Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.