รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจงานระบบวิศวกรรม ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิทธิ์ ปัญญาแวว คณะพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชุลีวรรณ โชติวงษ์ คณะพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปรีดา อัตวินิจตระการ คณะพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, ศักยภาพ, ผู้ประกอบการระบบวิศวกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจงานระบบวิศวกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการงานระบบวิศวกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการงานระบบวิศวกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมสนทนากลุ่ม และใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารบริหารบริษัท ผู้อำนวยการโครงการ ผู้จัดการโครงการ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย วิศวกรโครงการและช่างเทคนิค วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

           ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการงานระบบวิศวกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้างมี 12 องค์ประกอบ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรู้ผู้ประกอบการ 4 องค์ประกอบ คือ 1) ภาวะผู้นำ 2) เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3) การวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง และ 4) ระบบการจัดการองค์กรและกฎหมาย 2. ด้านทักษะการบริหารจัดการธุรกิจงานระบบวิศวกรรม 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความสามารถด้านวิศวกรรม 2) การวางแผนงานและมอบหมายงาน 3) การบริหารทีมงาน และ 4) การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา และ 3. ด้านการแข่งขันทางธุรกิจงานระบบวิศวกรรม 4 องค์ประกอบ คือ 1) มาตรฐานและระบบการให้บริการที่รวดเร็ว 2) การบริหารต้นทุนการดำเนินงานและการตัดสินใจ 3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กร และ 4) ความพร้อมบุคลากรและคุณภาพงาน และสร้างคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการงานระบบวิศวกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านความเหมาะสมของคู่มือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้ประกอบการได้

References

ธเนศ มหัทธนาลัย. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/lGj82

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

ประกอบ บำรุงผล. (2549). กรรมวิธีการและการควบคุมงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย.

พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์, ประสันน์ สายประทุมทิพย์ และสรุพงศ์ คณาวิวัฒน์ไชย. (2544). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างอยู่รอดได้ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ: จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : มหานครมหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อวยชัย สุภาพพจน์. (2555). การควบคุมงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Hellriegel, D., Jackson, S.E. and Slocum, J.W. (2550). Management (8th ed.). South-Western College: Cincinnati, 1999 อ้างถึงใน สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์ พรินติ้งแอนด์พับบลิชชิ่งจำกัด.

Parry, Scott B. (1997). Evaluating the Impact of Training. Alexandria. Virginia: American Society for Training and Development.

Project Management Institute. (2000). A guide to the project management body of knowledge (2nd ed.). Pennsylvania : Author.

Spencer, L. M., Jr., and Spencer, S. M. (1993). Competence at work : Model for superior performance. New York : John Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-02

How to Cite

ปัญญาแวว ศ. ., โชติวงษ์ ช. ., & อัตวินิจตระการ ป. (2022). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจงานระบบวิศวกรรม ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(1), 237–253. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/260674