การนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • โชติวัฒน์ สฤษดิ์เวชวรกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช Faculty of Political Science, Bangkok Thonburi University
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562, การนำไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำ พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายภาครัฐ ผู้บริหารในองค์กรภาครัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1. การนำ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่  1) ด้านเนื้อหาสาระ 2) ด้านแรงจูงใจ 3) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการ  4) ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน 5) ด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่ปฏิบัติ  6) ด้านการสนับสนุนของหน่วยปฏิบัติ   และ 2. ปัญหาและอุปสรรคของการนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร พบว่า 1)  ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจใน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 2) ผู้ประกอบการธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว ยังคงใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม 3) ปัญหาการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน หน่วยงานกับผู้ประกอบการ และหน่วยงานกับประชาชนผู้บริโภค 4) ความแตกต่างทางความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยวกับการใช้และตีความกฎหมาย 5) สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมขณะนี้ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย 6) ผู้ปฏิบัติงานไม่สุจริต ไม่มีสำนึกในความยุติธรรม เป็นผู้ที่ปฏิบัติเป็นสองมาตรฐาน บิดเบือนกฎหมายเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มและ 7) เนื้อหาสาระยังไม่ครอบคลุมการกระทำผิดและภาษาของกฎหมายไม่เป็นปัจจุบัน ยากที่จะเข้าใจในความหมาย

References

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร. (2563). จับชีพจรตลาดรถไทยหลังโควิด-19:ตลาดรถมือสองคึกคักสวนทางรถใหม่ท่ามกลางความท้าทาย. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/dObtH

เครือรัตนา กิ่งสกุล. (2558). ความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(3), 76-88.

ดลฤทัย สาลีอ่อน. (2556). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายรถยนต์ใช้แล้ว (สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม : กรุงเทพฯ.

ธชะนัน วงศ์ปัน. (2560). อิทธิพลของความเป็นธรรมที่รับรู้ และความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีผลต่อประสิทธิผลในการคุ้มครองผู้บริโภค. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 7(2), 48-62.

ธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์. (2560). แนวทางการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคยุคไทยแลนด์ 4.0. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

วีรวัฒน์ จันทโชติ. (2562). กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 1(4), 26-50.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2549). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2556). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2560). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2561). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2562). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

สฤษดิ์เวชวรกุล โ., ลักขณาภิชนชัช ท., กัลยาณมิตร ก., & นิยมญาติ ส. (2022). การนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้ว พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติในกรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(2), 117–133. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/260616