การบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการของคลินิกสุขภาพและความงาม ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Siriyakornสิริยากร สัตตบุศย์กุลวรา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, คุณภาพการให้บริการ, คลินิกสุขภาพและความงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการของคลินิกสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการของคลินิกสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการของคลินิกสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 20 คน ทำการคัดเลือกแบบเจาะจงจาก ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพและความงาม ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจสุขภาพและความงาม และประชาชนผู้ใช้บริการ

ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการของคลินิกสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1) ด้านกระบวนการให้บริการ 2) ด้านการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ 3) การเข้าถึงของผู้รับบริการ 4) ด้านการสร้างบริการให้เป็นที่รู้จัก 5) ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ 6) ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ และ 7) ด้านการดูแลหลังใช้บริการ 2. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการของคลินิกสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง 2) มีการกำหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าความเป็นจริง 3) การดำเนินการสถาน พยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตและแพทย์ที่ไม่มีใบอนุญาต 4) การใช้ยา ผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน 5) การชักจูง หลอกลวงให้ซื้อบริการ 6) การแข่งขันค่อนข้างสูง 7) การใช้ระบบตัวแทนซื้อขาย และ 8) การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพการให้บริการของคลินิกสุขภาพและความงามในกรุงเทพมหานคร พบว่า  1) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด 2) คลินิกต้องแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการให้เห็นอย่างชัดเจน 3) แพทย์ประจำคลินิกต้องมีใบประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง 4) สถานที่ตั้งของคลินิกต้องอยู่ในทำเลที่สามารถเดินทางสะดวกมีหลายสาขา  5) มีการส่งเสริมการตลาดและบริการหลังการขาย และ 6) ควรให้ความสำคัญกับการจัดฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการให้บริการเพื่อให้เกิดความพร้อมในการให้บริการ

References

ไทยรัฐ. (2564). หนุ่ม-สาวชาวจีนแห่พึ่งมีดหมอ คลินิกเถื่อนผุดเป็นดอกเห็ด. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/2211499

พิมพ์ขวัญ บุญจิตต์พิมล. (2562). แนวโน้มธุรกิจความงามกับตลาด AEC. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/beauty-industry-in-aec

วริษฐา แซ่เจีย. (2563). แบบนั้นสวย แบบนี้หล่อ? เมื่อ ‘มาตรฐานความงาม’ ของสังคมสร้างความบอบช้ำให้ผู้คน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://thematter.co/social/beauty-standard/120141

Goodstein, L.D. et al. (1993). Applied Strategic Planning: A Comprehensive Guide. New York: McGraw-Hill.

Hutanuwatr, H. (1998). Strategy for Mutation Through SWOT Analysis: A Case Study of Three Rural People Business Organization in Northeast Thailand. Cambridge: Asian Institute of Technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29