ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์

ผู้แต่ง

  • ธนบัตร อัษฎมงคลพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

อิทธิพล, ภาพลักษณ์, พรรคการเมืองไทย, ที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์ และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนพรรคการเมือง นักการเมือง นักวิชาการ และประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 20 คน ทำการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีส่วนเกี่ยวข้องและมีความรอบรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเป็นอย่างดี

ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์และนโยบาย 2) ผลงานที่ผ่านา 3) ประสบการณ์ 4) คุณธรรม-จริยธรรม/กฎหมาย 5) บุคลิกภาพ 6) การมีมนุษยสัมพันธ์ และ 7) ความรับผิดชอบต่อสังคม  2. ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์ พบว่า 1) ประชาชนไม่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และมีอคติต่อเรื่องการเมืองและพรรคการเมือง 2) คุณลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกพรรค  ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม 3) โครงสร้างของพรรคไม่เหมาะสม ขาดการบริหารจัดการที่ดี 4) การโจมตีภาพลักษณ์ระหว่างพรรคการเมืองด้วยกันเอง และ 5) การซื้อสิทธิ์ขายเสียง และไม่สามารถทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้ และ 3. แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง พบว่า 1) ต้องทำงานเชิงรุก หมั่นลงพื้นที่พบปะประชาชนด้วย สร้างสัมพันธ์ที่ดี 2) เผยแพร่ภาพลักษณ์พึงประสงค์ของพรรคที่แท้จริงไปยังประชาชนให้ได้รับทราบ โดยใช้สื่อสมัยใหม่ต่าง ๆ 3) ขั้นตอนการสรรหาและเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกของบพรรคต้องมีการพิจารณากลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน 4) พรรคการเมืองต้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ และ 5) สมาชิกพรรคการเมืองต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ และบุคลิกภาพของตนเอง

References

เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ. (2543). การสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิจิตร อาวะกลุ. (2542). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.

ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2557). พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง. มหาสารคาม: วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สนธิ เตชานันท. (2563). แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2469-2475). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สวนดุสิตโพล. (2561). ผลสำรวจพรรคการเมืองไทยในสายตาผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: สวนดุสิตโพล.

Giovanni Sartori. (1976). Liberty and Law, Menlo Park, California, Institute for Humane. Cambridge: Cambridge University Press.

Wongmontha, S. (1998). Practical Public Relations. Bangkok: A.N. Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

อัษฎมงคลพันธ์ ธ., ลักขณาภิชนชัช ท., กัลยาณมิตร ก., & นิยมญาติ ส. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองไทยที่พึงประสงค์. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(2), 149–164. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/260610