ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 100 คน จาก 10 หน่วยงาน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ( = 3.47) ปัจจัยในการปฏิบัติงานระดับสูงสุด คือ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.07) รองลงมา คือ ดานความสุขในการทำงาน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.90) ด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.83) ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.83) ด้านการปกครองบังคับบัญชา อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.78) ด้านความมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.76) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.74) ด้านความผูกพันต่อองค์กร อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.73) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.63) ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงานอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.54) ด้านสภาวะแวดล้อม อยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ( = 3.24) และด้านการยอมรับนับถือ อยู่ในระดับเห็นด้วยน้อย ( = 2.16) ตามลำดับ 2. ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.18) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานระดับสูงสุด คือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.40) รองลงมา คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.20) ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.18) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.12) และด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.00) ตามลำดับ
References
ทวี ทองอยู่ และกาญจนาท เรืองวรากร (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในบริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิกส์ จำกัด (มหาชน) (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.
ประกายมาศ เพชรรอด. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท แอล .วาย. อินดัสตรีส จำกัด (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. กรุงเทพฯ.
ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโต โมทีฟ (ประเทศไทย) จํากัด (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพฯ.
ปราโมทย์ ดวงเลขา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด [มหาชน] ในเขตภาคตะวันออก (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ลพบุรี.
ปัญญาพร ฐิติพงศ์. (2558). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง: กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
พรรณทิพย์ กาลธิยานันท์. (2543). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายบริการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
วัชระ เลิศพงษ์วรพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายบริการบุคลากรของบริษัทสายการบินแห่งหนึ่ง (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
วาสนา พัฒนานันท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สมคิด บางโม. (2545). องคการและการจัดการ (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
อ้อมอารีย์ ยี่วาศรี. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการปกครองที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.