การศึกษาความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • กาญจน์วริน สิทธิปรีชาพงษ์ กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ, ความต้องการ, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย  (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่เน้นการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสำรวจเรื่องการศึกษาความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงาน เพศหญิง อายุ 31-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เป็นบุคลากรสายสนับสนุน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 12 ปีขึ้นไป สังกัดสำนักงานอธิการบดี และมีรายได้ต่อเดือน 21,001-40,000 บาท 2) ค่าร้อยละของการใช้ระบบสารสนเทศใช้ระบบบริหารงานบุคคลและการเงิน จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00  และค่าร้อยละของความถี่ของการใช้งาน มีความถี่มากกว่า 10 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 70.00 3) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.22) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล อยู่ในระดับสูงสุด คือ ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.75) รองลงมา คือ ด้านความปลอดภัยของระบบ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.70) ด้านข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.42) และด้านความถูกต้องของข้อมูลในระบบ อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.02) ตามลำดับ 4) ได้แนวทางในการปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์โดยผู้บริหารต้องเข้ามาวางระบบของบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อเป็นประโยชน์ในการก้าวหน้าทางการปฏิบัติงานและทางวิชาชีพต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550–2554. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2549). นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 200 ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

ทัศน์เทพ ดลโสภณ, ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ และ น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทำรายงานสุขภาพจากฐานข้อมูลกลางของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนวัติ เจริญงาน. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/bitstream/handle/123456789/738/124290.pdf?sequence=1

สคมวิชช์ สุขภัทริทธิกุล และบุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์. (2556). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบันทึกข้อมูลและแผนผังการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับระบบสารสนเทศ โรงพยาบาลศิริราช. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2559, จาก http://sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/13-1/chapter-6.pdf

Pavlik, J. (2015). Transformation: Examining the Implications of Emerging Technology for Journalism, Media and Society. Athens Journal of Mass Media and Communications, 1(1), 9-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-02

How to Cite

สิทธิปรีชาพงษ์ ก. (2022). การศึกษาความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(1), 223–236. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/259963