การศึกษาแนวโน้มความต้องการหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ความต้องการ, หลักสูตรภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวโน้มความต้องการของผู้สนใจเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาเหตุผลในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี 4 ปี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาและพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กลุ่มประชากร คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐมจำนวน 803 คน ด้านภูมิหลัง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และเกรดเฉลี่ย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐมที่ทราบว่ามีหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทยเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85 รองลงมาคือนักเรียนไม่แน่ใจว่ามีหลักสูตรฯ คิดเป็นร้อยละ 19.30 และมีจำนวนน้อย คือนักเรียนไม่ทราบว่ามีหลักสูตรฯ คิดเป็นร้อยละ 7.84 2
- นักเรียนที่ไม่สนใจสมัครเข้าเรียนมีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 67.49 รองลงมา คือ นักเรียนที่ยังไม่แน่ใจ คิดเป็นร้อยละ 19.30% และ นักเรียนสนใจสมัครเข้าเรียน มีจำนวนน้อย คิดเป็นร้อยละ 13.20
- 3. เหตุผลและความสนใจเกี่ยวกับภาษาไทย วรรณคดีไทย ประเพณี และวัฒนธรรมไทยมีความสนใจ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60 โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.606 และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า นักเรียนมีความสนใจเกี่ยวกับวรรณคดีไทย/วรรณกรรมไทย มีความสนใจอยู่ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 2.89 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.803 และสนใจเกี่ยวกับภาษาไทย/ภาษาศาสตร์คิดเป็นร้อยละ 2.84 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.785
References
คณะมนุษยศาสตร์. (2562). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. สืบค้น 24 มิถุนายน 2562, จาก https://human.mbu.ac.th/hu-course/
บวรพจน์ พุดสีเสน และ สุวรี ฤกษ์จารี. (2560). ความตองการเขาศึกษาตอหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาจิตวิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11 (2), 111-122.
ป ประภัสสนันทน์ เรืองจันทร์. (2564). การศึกษาความต้องการของผู้ศึกษาต่อและผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการเปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 234-249.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2564). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. สืบค้น 28 มกราคม 2564, จาก www.mbu.ac.th: https://www.mbu.ac.th/mbuplan64-68/
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ, โกวิทย์ พิมพวง, เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา และบุญเลิศ วิวรรณ์. (2564). ความสำเร็จและภาพสะท้อนความต้องการของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 3(1), 7-18.
สาขาวิชาภาษาไทย. (2562). มคอ.๒ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 29 ธันวาคม 2559, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.