บทบาทพระนักเทศน์กับการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พระครูโสภณปริยัตยานุกิจ อาทิตย์ ซองดี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
  • สุวัฒสัน รักขันโท ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พุทธชาติ แผนสมบุญ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาท, พระนักเทศน์, การส่งเสริมสุขภาพจิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของพระนักเทศน์กับการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ สังคม หน้าที่การงาน ครอบครัว ตามแนวหลักการวิธีการเทศน์พุทธวิถี 4 ประการ คือ เทศน์สอนเพื่อให้เกิดสันทัสนา ให้มีความแจ่มแจ้งชัดเจนในหลักธรรมไม่สงสัยในการดำเนินชีวิตต่อไป สมาทปนา คือให้ผู้สูงอายุเกิดแรงจูงใจเกิดศรัทธามั่นคงในความดีที่ทำมาและทำดีต่อไป สมุตเตชนา คือให้ผู้สูงอายุมีความแกล้วกล้ามั่นใจทำได้อยู่ได้และเป็นได้เหมือนคนทั่วไป สัมปหังสนา คือสร้างความร่าเริงเบิกบานใจทั้งอดีตปัจจุบันและอนาคต พระนักเทศน์นอกจากทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่จะให้ผู้สูงอายุมีความเชื่อมั่นศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริงแล้ว พระผู้เทศน์ต้องมีความรู้ความสามารถประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำหน้าที่ในการเทศน์อย่างถูกต้องไม่หวังผลอามิสตอบแทน แต่มุ่งหวังผลประโยชน์ให้ผู้สูงอายุได้นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาหล่อเลี้ยงประคองชีวิตได้มั่นคง เปลี่ยนจากทุกข์ให้เป็นสุข เปลี่ยนจากเครียดวิตกกังวลเป็นเบาสบายใจ ด้วยวิธีรักษาตนให้มีความสุขตามหลักพุทธธรรม เช่น พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4  และอิทธิบาท 4 ที่ให้ผู้สูงอายุมีความสุขและความคิดที่ดีงามมีกำลังใจที่ต่อสู้ชีวิตอย่างมีความสุขและความมีหวังต่อไป

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

นริสา วงศ์พนารักษ์, (2556).การสร้างสุขภาวะทางจิตในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2,163.

บุญช่วย ค้ายาดี, (2564). สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบใ,ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/103356

ปิ่นนเรศ กาศอุดม และมัณฑนา เหมชะญาต. (2554). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเทศบาล ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 43-44.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2563). วิธีเทศนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัทปัญญามิตรการพิมพ์.

เพ็ญผกา กาญจโนภาส. (2547). ประสิทธิภาพของโปรแกรมสุขศึกษาเกี่ยวพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ :กรุงเทพฯ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). พุทธวิธีการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เสถียร พันธรังสี. (2516). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : ผดุงวิทยาการพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทางและพุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รตนพร จำกัด.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2564). ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ ดำเนินชีวิตให้ถูก ความสุขยิ่งเพิ่มพูน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทธรรมสภา บันลือธรรม จำกัด.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

สุจริต สุวรรณชีพ (บรรณาธิการ). (2558). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกัน ปัญหาสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี : ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

องค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาส. (2549). วิชาการเทศนา. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา.

Goldberg, D. P. (1972). The detection of psychiatric illness by questionnaire. London: Oxford University Press.

WHO. (2011). Active aging a Framework. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2564. จาก www.who.int/survey/aging beholder/en/index.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29