การใช้ตำรับยาแพทย์แผนไทยร่วมกับหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อรักษา ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด – 19)

ผู้แต่ง

  • ธนศวรรณ ยิ่งยง คลินิกแพทย์แผนไทยโพธิ์เรียง จังหวัดสมุทรสาคร
  • สุวัฒสัน รักขันโท ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มจร

คำสำคัญ:

การรักษาโรค, ผู้ติดเชื้อ, ไวรัสโคโรน่า (โควิด-19), ตำรับยาแพทย์แผนไทย, การรักษาโรค, ผู้ติดเชื้อ, ไวรัสโคโรน่า (โควิด-19), ตำรับยาแพทย์แผนไทย, หลักพุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

         สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตทุกคนบนโลกนี้ แม้ทางรัฐจะออกมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด แต่การกลายพันธ์ของโควิด-19 ยังขยายวงกว้างขึ้น จนทำให้เกิดสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ประเทศไทยโชคดีที่มีทางเลือกในวิธีการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย ในกรณีนี้ศึกษาเฉพาะการใช้ตำรับยาที่นำมารักษาคือ ยาขาว (ตำรับคัมภีร์วัดโพธิ์) ยาแก้ไข้จันทลีลา (ยาแผนไทยสามัญประจำบ้าน) สมุนไพรฟ้าทะลายโจร (สมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน) ของคลินิกแพทย์แผนไทยโพธิ์เรียง จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรักษาอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หลังจากการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยพบว่า ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ส่วนมากอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติด้วยวิธีแพทย์แผนไทย นอกจากนี้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยในการรักษา คือหลักอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สอนให้มีความอดทนต่อสภาวะโรคเกิดขึ้นให้มีกำลังใจต่อสู้ไม่ย่อมแพ้ต่อปัญหานั้น ๆ สมุทัย ให้ถือปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรคเพิ่มขึ้น นิโรธ รักษาให้หายแล้วให้หมั่นตรวจสุขภาพกาย และสุขภาพใจไม่ประมาทมีสติในการดำรงชีวิตในยามวิกฤติต่อไป มรรคบุคลากรแพทย์แผนไทยได้ศึกษาค้นคว้าวิธีการรักษาจนประสบความสำเร็จ และติดตามประเมินผลจนกว่าจะหายและใช้ชีวิตเป็นปกติ

References

กรมควบคุมโรค.(2564). ภาพรวมของผู้ติดเชื้อ Our World in Data และ JHU CSSE COVID-19 Data. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.google.co.th/search

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 1 ธันวาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia.

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ยาสามัญประจําบ้านแผนโบราณ พ.ศ.2556. ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2556 หน้า 30 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 21 ง.

จิราภรณ์ ศรีแจ่ม. (2564). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. สืบค้น 5 ธันวาคม 2564, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/290347

พรรณทิพา คเนศร์, นภัทร์ แก้วนาค. (2564). การบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวม. สืบค้น 5 ธันวาคม 2564 จาก http://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/185041/130186

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2564). โควิทกถา. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชิง จำกัด (มหาชน).

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหิดล, (2561). การแพทย์แผนไทยประยุกต์ (Applied Thai Traditional Medicine). สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก https://med.mahidol.ac.th/altern_med/th/thai_traditional_medicine

โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ. (2547). ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล และคณะ. (1991). ประสิทธิผลของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษาอาการไข้และเจ็บคอ. วารสารจดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย, 74(10): 437-442.

ยง ภู่วรวรรณ. (2564). การปรับตัวภายใต้ภาวการณ์ระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=1&l=4

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป .อ. ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 43). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก.

ThaiPR.net. (2564). พุทธจิตวิทยากับการจัดการตนเองในวิกฤตสถานการณ์โควิด-19. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก https://www.ryt9.com/s/prg/3121499

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-08

How to Cite

ยิ่งยง ธ., & รักขันโท ส. (2022). การใช้ตำรับยาแพทย์แผนไทยร่วมกับหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อรักษา ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด – 19). วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(1), 399–412. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/257157