การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธกโดยใช้การวิเคราะห์ซออาร์ ในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สุนทรียสาธก, การวิเคราะห์ซออาร์, แผนปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธก สิ่งสำคัญคือ ต้องค้นหาให้พบว่าอะไรที่ให้ชีวิตแก่ระบบ การสร้างบรรยากาศ การสร้างความสัมพันธ์ การเล่าเรื่อง การจัดหาขุมความรู้ เอาความสำเร็จมาบันทึกแล้วนำไปขยายผลประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามสถานการณ์เพื่อประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วยหลักการ 4D ได้แก่ การค้นหา (Discovery) การสร้างฝัน (Dream) การออกแบบ (Design) และการปฏิบัติ (Destiny) โดยใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ซออาร์ (Soar Analysis) เป็นคำย่อของ จุดแข็ง (Strengths) โอกาส (Opportunities) แรงบันดาลใจ (Aspirations) และผลลัพธ์ (Results) ใช้วิธีการสัมภาษณ์ดึงประสบการณ์เชิงบวกของบุคลากรทุกคนซึ่งจะนำไปสู่นวัตกรรมที่จะพัฒนางานด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา แล้วนำประสบการณ์ที่ค้นพบมากำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันและนำไปใช้ในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการพัฒนาสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี

References

กนกอร สมปราชญ์. (2559). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพ: หจก.ซี.ที.เค.พริ้นท์ติ้ง.

ปริวัตร เปลี่ยนศิริ. (2555). การประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกเพื่อพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำในชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านแม่คองซ้าย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญโญ รัตนาพันธ์. (2552). Appreciative Inquiry คืออะไรใครใช้. สืบค้น 4 มิถุนายน 2564, จาก https: //www.gotoknow.org/posts/314324.

“_______”. (2554). โค้ชเชิงบวก. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา การจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

“_______”. (2554). การวิเคราะห์ซออาร์ : เครื่องมือที่นำมาใช้แทนการวิเคราะห์ SWOT. สืบค้น 4 มิถุนายน 2564, จาก https://mba.kku.ac.th/journal/allimages/pdf/jJDIxTSyB5_03%20Pinyo.pdf.

“_______”. (2557). ตัวอย่างSOAR Analysis แบบละเอียด. สืบค้น 4 มิถุนายน 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/561655.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2554). เทคนิคการบริหารสำหรับผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนา การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิททยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง. (2561) การพัฒนาแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนโดยใช้วิธีการบริหารแบบสมดุลด้วยการวิเคราะห์ซออาร์ : กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกสุราษฎร์ธานี (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.

David C Cooperrider and Diana Whithney. (2005). Appreciative Inquiry a Positive Revolution in Change. BK Berrett Koehler Publishers, Inc.

Jacqueline M. Stavros., Gina Hinrichs. (2021). Learning to SOAR Creating Strategy that Inspires Innovation and Engagemaent. SOAR Institute. Kindle Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30