สุขภาวะองค์รวมในการทำงานอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนตามแนวพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • จิรชฎา เชียงกูล National Health Security Office (NHSO)
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ Department of Psychology, Humanities Faculty, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

สุขภาวะองค์รวม, การทำงาน, ความสุข, พุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

            บทความนี้ได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งจากโลกตะวันตก โลกตะวันออก และจากประสบการณ์ในการทำงานด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ทราบว่า ปัจจัยอะไรที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะองค์รวมในการทำงานหรือความสุขในการทำงานข้างต้น พุทธจิตวิทยาสามารถสร้างสุขภาวะองค์รวมได้อย่างไรนั้น เป็นการใช้ทั้งศาสตร์ตะวันตก ที่คำนึงถึงความต้องการของมนุษย์และองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานและใช้หลักพระพุทธศาสนาที่สำคัญคือ ใช้หลักอิทธิบาท 4 และพรหมวิหาร 4 เพื่อความสำเร็จในการทำงาน รวมทั้ง เพิ่มความสุขในการทำงาน การใช้พุทธจิตวิทยา พิจารณาถึงความต้องการทั้งหมดนี้เพื่อเข้าถึงความรู้สึก และจิตใจของมนุษย์ ซึ่งองค์กรสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงาน และบุคลากรสามารถพัฒนาตนเองให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน และความสุขที่ยั่งยืนได้ แบบ “งานได้ผล คนเป็นสุข”

References

กรมการศาสนา. (2541). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและศาสนาต่าง ๆ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

จิราภร ฤกษ์ชนะ. (2559). แนวทางการสร้างความสุขในการทำงานในองค์กร กรณีศึกษา : บริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ชลธิชา กาญจนศิริ และ พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2563). โภชนปฏิบัติ : การใช้หลักโภชเนมัตตัญญุตาในการรักษาโรคตามแนวทางของพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 63-65.

ดวงเนตร ธรรมกุล. (2555). การสร้างสุขภาวะในองค์กร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6, 1-10.

พระเทพวัชรบัณฑิต, พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร และ นภัทร แก้วนาค. (2564). บรรยายในการสัมมนา หัวข้อ “มองทุกข์ ให้สุขได้” ณ ห้องอริยมรรค มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564.

พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พระมหาสากล สุภรเมธี. (2558). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแนวพุทธปรัชญา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(2), 355-357.

ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2561). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(ฉบับพิเศษ), 590-599.

มนัสชนก เมืองเงิน. (2563). รูปแบบการพัฒนาองค์กรประสิทธิภาพสูงตามแนวพุทธจิตวิทยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์. (2562). ผลของการฝึกสติและคิดบวกที่มีต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัยของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

Bradburn, N. M. (1969). The Structure of Psychological Well-Being. Chicago:IL:Aldine.

Diener, E., & Chan, M. Y. (2019). Happy People Live Longer: Subjective Well-Being contributes to Health and Longevity. Retrieved June 13, 2019, from https://ssrn.com/abstract=1701957

Herzberg, Frederick. (1991). A Harvard Business Review Paperback: Motivation. Massachusetts: Harvard Business School.

Raymond J. Wlodkowski, (1993). Enhancing Adult Motivation to Learn, Jossey-bass publishers. California.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29