ศึกษาและฟื้นฟูโครงการมัคคุเทศก์น้อยกับการรองรับการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธีรภัค ไชยชนะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาวิเชียร ปริชาโน สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มัคคุเทศก์น้อย, การท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวฝั่งธนบุรี

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารการจัดการกับการรองรับการท่องเที่ยวทัวร์ศูนย์เหรียญ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสามารถของบุคลากรในพื้นที่ 4) เพื่อพัฒนาการบริหารการจัดการความสามารถของบุคลากรในพื้นที่สู่การเป็นมัคคุเทศก์น้อย 5) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารการจัดการโครงการมัคคุเทศก์น้อยสู่แหล่งท่องเที่ยวเครือข่าย กลุ่มประชากรได้แก่ พระสงฆ์ ประชาชนในชุมชนและนักเรียนในพื้นที่ 9 วัด รวม 7,792 รูป/คน ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดระบบจำแนกชนิดข้อมูล เปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า

         ประชากรในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว 9 วัดฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครยังขาดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบในการรองรับการท่องเที่ยว สำหรับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวยังเป็นการบริหารในส่วนพื้นที่วัดของตนเองเท่านั้น และยังไม่มีการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียนเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นประสิทธิภาพด้านความสามารถของบุคลากรยังต่ำ เช่น การสื่อสารโดยเฉพาะภาษาต่างประเทศเป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงได้มีการจัดฝึกอบรม ประกอบด้วย 1) มัคคุเทศก์น้อย 2) การจัดทำบัญชี 3) การประกอบอาชีพ และ 4) สิ่งแวดล้อม จากกลุ่มประชากลุ่มตัวอย่างผู้เข้าอบรมจำนวน 392 รูป/คน พบว่า ประชาชนในชุมชนได้นำไปปะกอบอาชีพในการบริการนักท่องเที่ยวในพื้นที่การท่องเที่ยว 9 วัด อย่างเป็นระบบ สะอาดถูกหลักอนามัย มีการบริหารจัดการในการทำงานร่วมกัน โดยมี “เครือข่ายสมัชชาองค์กรชุมชนท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม 9 วัด กรุงธนบุรี ศรีมหาสมุทร” เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน ส่งผลให้ประชาชนมีความพอมี พออยู่ พอกิน พึ่งพาอาศัยตนเองได้ ภายใต้ชื่อ “เชิญท่องเที่ยวนวัตวิถีสองแผ่นดินบนถนนสายวัฒนธรรม 9 วัด กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร”

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2555). การท่องเที่ยว : มิติแห่งศาสตร์บูรณาการ. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 1.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2559). รัชกาลที่ 5 กับการเสด็จฯ อินเดีย พ.ศ. 244 และความเข้าใจต่อการปฏิรูปแห่งรัชสมัย. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 ASEAN : Siam – Thailand + Japan + China and + India. (25 พฤศจิกายน 2559).

ชนินทร์ ศรีวิสุทธิ์ และ พัทรียา หลักเพ็ชร. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพ การท่องเที่ยวไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 99.

ณัฏฐณิชชา สิงห์บุระอุดม, วรัทยา ธรรมกิตติภพ และ พนิต เข็มทอง. (2561). สมรรถนะอาชีพมัคคุเทศก์นำเที่ยวทะเลชายฝั่ง ตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หน้าที่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 159.

ดวงรัตน์ ด่านไทยนำ. (2553). พฤติกรรมในการเลือกและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อคู่มือการท่องเที่ยวด้วยตนเอง (กรณีศึกษาชุมชนบางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม). วารสารวิจัยและพัฒนา, 2 (1), 80.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านโคกไคร จังหวัดพังงา. วารสาร Veridain E-Journal, 7(3), 650.

วันทนี สว่างอารมณ์. (2550). นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในการพัฒนาการท่องเที่ยว. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 7(1), 60.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระการพัฒนาที่ 1: การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

How to Cite

ไชยชนะ ธ., ปริชาโน พ., & อิศรเดช ธ. . (2022). ศึกษาและฟื้นฟูโครงการมัคคุเทศก์น้อยกับการรองรับการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(1), 103–122. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/256018