นัยยะแอบแฝงการประกอบสร้างตัวละคร “พระราม” เรื่องรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1
คำสำคัญ:
นัยยะแอบแฝง, พระราม, รามเกียรติ์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญและนัยยะแอบแฝงการประกอบสร้างตัวละครพระรามในรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 โดยใช้แนวคิดเรื่องการสร้างตัวละครและแนวคิดเรื่องสัญญะวิทยาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษา พบว่าคุณลักษณะสำคัญของตัวละครพระรามเกิดจากการประกอบสร้างบุคลิกภาพสองส่วน คือ บุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพภายนอก มีผลให้ตัวละครพระรามมีคุณลักษณะสำคัญ คือ เป็นบุคคลที่มีจิตใจและความประพฤติดี ขณะเดียวกัน ก็เป็นผู้ที่มากด้วยความสามารถ ส่วนการศึกษานัยยะแอบแฝงการประกอบสร้างตัวละครพระรามจากการศึกษา พบว่า คุณลักษณะสำคัญของตัวละครพระรามที่ปรากฏ มีความเชื่อมโยงกับอุดมการณ์และแนวคิดทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
References
กุสุมา รักษมณี และคณะ. (2555). มหากาพย์รามายณะของวาลมีกิฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรรณี กัมมสุทธิ์. (2544). บทบาทความเป็นผู้นําของพระรามในรามเกียรติ์ (วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ. (2540) บทละครรามเกียรติ์ 4 เล่ม. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
สุทัศน์ ศรีดาเดช. (2540). ภาวะของผู้นำจากรามเกียรติ์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2526). วิเคราะห์รามเกียรติ์การแปลความหมายทางการเมือง (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
เสาวนิตย์ จุลวงศ์. (2536). โครงสร้างของสังคมในรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.