ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ที่มีต่อความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • พระรุ่งโรจน์ ถิรปุญฺโญ หลักสูตรสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมชัย ศรีนอก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิวัฒน์ พิมพวง โรงเรียนวัดจันทราวาส ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบอริยสัจ 4, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre Experimental Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดจันทราวาส ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง พุทธปณิธาน 4 จำนวน 4 ชุด 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดมีวิจารณญาณ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent

         ผลการวิจัยพบว่า

         1) นักเรียนที่เรียนรู้แบบอริยสัจสี่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากวิธีการสอนแบบอริยสัจสี่เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่นักเรียนพยายามคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาและวิธีการพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้ลำดับขั้นตอนของอริยสัจ 4 เป็นแนวทางการแก้ปัญหาและวิธีการพัฒนาทักษะชีวิตด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

         2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนรู้แบบอริยสัจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้ศึกษาสถานการณ์ เริ่มกำหนดประเด็นปัญหา ร่วมกันพิจารณาจากข้อมูล มีการถกเถียงเพื่อกำหนดปัญหา ร่วมกันให้ความหมายของปัญหา การรวบรวมข้อมูลจากสถานการณ์จำลอง ร่วมกันพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ

         3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนรู้สึกว่าได้สัมผัสกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาจากแบบฝึกทักษะหลายรูปแบบในเรื่อง พุทธปณิธาน 4 เป็นเรื่องที่สร้างแรงจูงใจให้อยากรู้ และท้าทายความสามารถในการคิดแก้ปัญหา(ขั้นทุกข์) ร่วมกันค้นคิดหาสาเหตุของปัญหาภายใต้มุมมองที่เป็นอิสระ (สมุทัย) นักเรียนร่วมกันรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนทางเลือกที่ตนเองนำเสนอให้กับกลุ่ม (นิโรธ) ร่วมกันตัดสินใจเลือกและปฏิบัติด้วยรูปแบบที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ (มรรค)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2564). การจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับผู้เรียนในสังคมไทยยุคปัจจุบัน. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564, จาก https://www. facebook.com/krupramahachula/posts/

ดำรงศักดิ์ สุดเสน่ห์. (2561). กระบวนการสร้างเสริมศักยภาพการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ตามธรรมชาติวิชาวิทยาศาสตร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ. (2544). ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สุชิลา สวัสดี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณในรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมสําหรับครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม : สถาบันพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยตุโต). (2544). พุทธวิธีในการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก.

“_______”. (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 - 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สุพรรณบุรี : โรงเรียนวัดจันทราวาส จังหวัดสุพรรณบุรี.

อรอนงค์ ศรีชัยสุวรรณ และกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2558). ผลการใช้ชุดการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อผลสัมฤทธิทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน,. 5(1), 37.

อัญไอริณทร์ ราชวงศ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ตามวิธีสอนแบบอริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-02