การพัฒนาการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านกูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3 จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระวีระวัฒน์ กตปุญฺโญ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชวาล ศิริวัฒน์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การเรียน, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนในวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนในวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จังหวัดสุรินทร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นอย่างไร ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งได้วางแผนการดำเนินการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่ม ทดสอบก่อนเรียน - ทดสอบหลังเรียน E T1 X T2 (One Group Pretest – Posttest Design) เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ที่เกิดจากทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสาระการเรียนรู้ 2. ด้านกระบวนการเรียนรู้ 3. ด้านสื่อการเรียนรู้ 4. ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ 5. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

         ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาพัฒนาการเรียนในวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของเรียนรู้แบบอิทธิบาท 4 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จังหวัดสุรินทร์ เป็นผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.57 แสดงว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เพราะมีคะแนนทดสอบเพิ่มขึ้น
  2. ผลการศึกษาการเปรียบเทียบผลการเรียนในวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จังหวัดสุรินทร์ พบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้แบบอิทธิบาท 4 สาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนรู้และหลังเรียนรู้ พบว่า การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย แบบทดสอบจำนวน 40 ข้อ ดำเนินการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังการเรียนรู้สูงก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

References

จินตนา จริยานนท์. (2559). ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อพระสงฆ์ผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : พระนครศรีอยุธยา.

พระปลัดสาธิต อมโร (จินดารอง). (2558). ศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน ประถมศึกษาปีที่ 6 เขตบางคอแหลม สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : พระนครศรีอยุธยา.

รัตนะ บัวสนธ์. (2558). การประเมินโครงการ/การวิจัยเชิงปริมาณ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01