วิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • พระสมพร ติสฺสวโร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมชัย ศรีนอก สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การทำบุญ, บุญกิริยาวัตถุ

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่อง วิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการทดลองกลุ่มเดียว โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์วิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงทดทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) กับกลุ่มประชากร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนบทเรียน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ตัวแปรทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วย LSD’ Method

         ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบุญกิริยาวัตถุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.57 แสดงว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เพราะมีคะแนนทดสอบเพิ่มขึ้น
  2. ประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบุญกิริยาวัตถุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แบบทดสอบก่อนเรียนรู้ โดยรวม คะแนน 521 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 17.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 4.63 จาก คะแนนของแบบทดสอบก่อนเรียนทั้งหมด 1,200 คิดเป็นร้อยละ 43.42
  3. 3. แบบทดสอบก่อนเรียนรู้ที่นักเรียนได้คะแนนมากที่สุด ได้แก่ แบบทดสอบการเรียนรู้ที่ 1 (ศีล) โดยคะแนน 139 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.33 จาก คะแนนของแบบทดสอบก่อนเรียนทั้งหมด 300 คิดเป็นร้อยละ 46.33

References

กันตภณ หนูทองแก้ว. (2556). การนำหลักบุญกิริยาวัตถุมาใช้ในวิถีชีวิตของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๕๖ (รายงานการวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองศีลธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : คุรุสาลาดพร้าว.

พระครูปลัดกิตติวัฒน์ (เมธวัจน์ สีลภูโต). (2560). การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะกรณีพุทธศาสนิกชนวัดบางนานอก (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : พระนครศรีอยุธยา.

พระนำพล พลญาโณ (พลภักดี). (2560). ศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านเพียมิตรภาพที่ 138 จังหวัดอุดรธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : พระนครศรีอยุธยา.

พีระพงศ์ เจริญพันธุ์วงศ์. (2541). การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาสารคาม.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2534). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2542). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : สุวยาสาส์น.

ศิริขรินทร์ ไชยนา และ คณะ. (2549). การบำเพ็ญบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

How to Cite

ติสฺสวโร พ., ศรีนอก ส., & วงศ์สุวรรณ น. (2022). วิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 8(1), ึ75–89. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/255262