การจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระบุญเกิด ศิริบุตรตา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชิดชัย ไชยรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้, พระพุทธศาสนา, อริยสัจ 4

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองขันต้น (Pre-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนบทเรียนวิธีสอนแบบอริยสัจ4หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนพิธี สาระการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบอริยสัจ 4 ในสาระพระพุทธศาสนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร มีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้เรียนเกิดความสนใจ ตื่นเต้นและมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระเป็นอย่างดี
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยรวม จากการใช้วิธีสอนแบบอริยสัจ4ในสาระพระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ศาสนพิธี มีค่าเฉลี่ย = 11.27/18.13 เมื่อนำไปทดสอบหาค่า t – test พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธีเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

จำเนียร กิ่งแก้ว. (2555). ผลของการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าข่า จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. นนทบุรี.

พรศรี อุ่นตุ้ม. (2558). การแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมแบบอริยสัจสี่สาระเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดกู้คำ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่; เชียงใหม่.

พระครูโสภณธรรมประดิษฐ์ (วีระพัฒน์ จันทร์ศรีนาค). (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่จัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจ4ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช: นครศรีธรรมราช.

พระปัญญาวรวัฒน์ สิริภทฺโท. (2555). ความขัดแย้งของสังคมไทยกับการแก้ปัญหาตามแนวทางอริยสัจสี่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 8(ฉบับพิเศษ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า), 215 -216.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.

“_______”. (2544). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

“_______”. (2556). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

เพ็ญศิริ ภูมิสายดร, กัญญารัตน์ โคจร และกานต์สิริ ปักเคธาติ (2558). การเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(ฉบับพิเศษ), 502.

วิภาวรรณ พินลา, ชุติมา วัฒนะคีรี และกิตติคุณ รุ่งเรือง. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบชิปปากับ การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 4(7), 119.

อรอนงค์ ศรีชัยสุวรรณ และกิตติชัย สุทาซิโนบล. (2558). ผลการใช้ชุดการเรียนการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวไลยลงกรบริทัศน์, 5(1), 39-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30