การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นประถมศึกษา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหารัฐพล สิริภทฺโท คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชวาลย์ ศิริวัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมปอง สุวรรณภูมา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม, หลักอริยสัจ 4, รายวิชาพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นประถมศึกษา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี” เป็น การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental  Research) แบบ One Group  Pre-test – Pos-test Design ทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน (One Group Pretest – Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา โดยกระบวนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์บ้านอ้อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยกระบวนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์บ้านอ้อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา โดยกระบวนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์บ้านอ้อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (Mean) 16.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.892 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (Mean) 21.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 3.425 ค่าความเฉลี่ยของผลต่างเท่ากับ 9.02 และเมื่อทดสอบหาค่า t-test เท่ากับ 30.213 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา โดยกระบวนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์บ้านอ้อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
  2. ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนรู้รายวิชา พระพุทธศาสนา โดยกระบวนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์บ้านอ้อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.59, S.D. = .434) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน สามารถเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ คือ ลำดับที่ 1 ด้านเนื้อหา (Mean = 4.42, S.D. = .280) ลำดับที่ 2 คือ ด้านประโยชน์ (Mean = 4.36, S.D. = .392) ลำดับที่ 3 ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (Mean = 4.30, S.D. = .418) ลำดับที่ 4 ด้านผู้สอน (Mean = 4.24, S.D. = .321) ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตรลดา ฝั่งทอง. (2558). ผลการสอนแบบอริยสัจสี่ เรื่อง หลักธรรม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุริยาอภัยพิมายจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

ประนอม เดชชัย. (2551). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พระครูโสภณธรรมประดิษฐ์ (วีระพัฒน์ จันทร์ศรีนาค). (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่จัดการเรียนรู้ยาวนาน แนวอริยสัจสี่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช: นครศรีธรรมราช.

สมชัย ศรีนอก. (2557). กระบวนการพระพุทธศาสนากับแนวคิดการผสมผสานในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 1(2), 73.

สุรเกียรติ ไชยนวัติ. (2559). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจสี่ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: จันทบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30