การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สุทธิชัย อรุณโน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมภพ เขียวมณี วิทยาลัยนาฏศิลปะอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
  • สุวัฒสัน รักขันโท คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, บุคลิกภาพ, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางข้อเสนอแนะในการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน โดยการเจาะจง (Purposive sampling) ด้วยวิธีการแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพ และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการศึกษา พบว่า

  1. ผลการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขา จากการสังเกตพฤติกรรม 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (p) คิดเป็นร้อยละ 85.71 ครั้งที่ 2 พบว่า ค่าประสิทธิภาพ (p) คิดเป็นร้อยละ 88.75 ครั้งที่ 3 พบว่า ค่าประสิทธิภาพ (p) คิดเป็นร้อยละ 96.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติตามที่คาดหวังไว้ที่ร้อยละ 80
  2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขาด้วยมารยาทไทย 3 แบบ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น
  3. แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน ดังนี้ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของรายวิชา ทบทวนความรู้เดิมด้านมารยาทไทยและความรู้ด้าน ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่ พร้อมทั้งใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นในระหว่างเรียน และมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้

References

กล้าหาญ ณ น่าน. (2557). อิทธิพลของคุณลักษณะบุคลิกภาพและความพึงพอใจที่มีต่อการปรับตัวในการทำงานของผู้เข้าสู่ตลาดบัณฑิตใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(1), 39.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2639). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิรัตน์ มัณฑานนท์. (2559). อิทธิพลของหลักไตรสิกขาที่มีผลต่อการสอนและการเรียนรู้ของเด็ก กรณี: ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคาแหง: กรุงเทพฯ.

สุหัชชา พิมพ์เนาว์. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา (วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

อุทยานธรรม. (2560). สื่อธรรม. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.uttayarndham.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30