“ดร.อนิรุทธิ์-ตุลา”: อัตลักษณ์ตัวละครชายในนวนิยายประชัน เรื่อง “เมียหลวง-เมียน้อย” ของกฤษณา อโศกสิน-ทมยันตี

ผู้แต่ง

  • ผกาเพ็ญ จรูญแสง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรวรรธน์ ศรียาภัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • จารุวรรณ เบญจาทิกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ตัวละครชาย, นวนิยายประชัน, เมียหลวง, เมียน้อย, กฤษณา อโศกสิน, ทมยันตี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “ดร.อนิรุทธิ์-ตุลา”: อัตลักษณ์ตัวละครชายในนวนิยายประชันเรื่อง “เมียหลวง-เมียน้อย” ของกฤษณา อโศกสิน-ทมยันตี จากข้อมูลนวนิยาย 2 เรื่อง คือ “เมียหลวง” ของกฤษณา อโศกสิน และ “เมียน้อย” ของทมยันตี โดยใช้แนวคิดในการวิจัย 2 แนวคิด คือ แนวคิดความรู้ในตัวบทและแนวคิดความรู้นอกตัวบท ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กลวิธีการประกอบสร้างตัวละคร ดร.อนิรุทธิ์ กับ ตุลา ที่แสดงออกให้ผู้อ่านเห็นชัดเจนมี 2 ประการ คือ การสร้างตัวละครและการนำเสนอตัวละคร ประเด็นอัตลักษณ์ตัวละคร ดร.อนิรุทธิ์ และ ตุลา ผลการศึกษาจำแนกได้ 3 ประการ คือ อัตลักษณ์ตัวละครชายของตัวละคร ดร.อนิรุทธิ์ อัตลักษณ์ตัวละครชายของตัวละครตุลา และ ดร.อนิรุทธิ์-ตุลา ความเหมือนและความต่างของตัวละคร ดร.อนิรุทธิ์-ตุลา

References

กฤษณา อโศกสิน. (2555). เมียหลวง (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2562). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทมยันตี (นามปากกา). (2552). เมียน้อย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). ( 2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระยาอนุมานราชธน (เสถียรโกเศศ). (2546). การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศยาม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สรยา รอดเพชร, ทัศนี ทานตวาณิช และนัทธนัย ประสานนาม. (2557). ผู้หญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายของอุทิศ เหมะมูล. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(1), 53-79.

วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2562). หน่วยที่ 5 การอ่านวิเคราะห์วิจารณ์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการอ่านภาษาไทย หน่วยที่ 1-8 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2542). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30