รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลต่อสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าผ่านสื่อสังคม

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ มีสวัสดิ์ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การให้การปรึกษารายบุคคล, พุทธจิตวิทยา, ภาวะซึมเศร้า, สื่อสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลต่อสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าผ่านสื่อสังคม” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการให้การปรึกษาสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าตามแนวจิตวิทยาและพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลตามแนวคิดทางจิตวิทยาและพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลต่อสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าผ่านสื่อสังคม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน นำมาพัฒนารูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลต่อสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าผ่านสื่อสังคม และใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต (DASS-21) เก็บข้อมูลเพื่อยืนยันรูปแบบที่เหมาะสมโดยการปรึกษากับสตรีที่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 5 คน โดยสมัครใจ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบผลการวิจัยดังนี้

  1. การศึกษาหลักการให้การปรึกษาสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าตามแนวจิตวิทยาและพุทธจิตวิทยา พบว่า หลักการให้การปรึกษาสตรีที่มีภาวะซึมเศร้า เป็นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจอย่างเป็นกระบวนการที่อาศัยสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ระหว่างผู้ให้การปรึกษากับสตรีที่มีภาวะซึมเศร้า ด้วยการสื่อสารสองทาง
  2. รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลตามแนวคิดทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา  พบว่า กระบวนการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลตามแนวคิดทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นสร้างสัมพันธภาพด้วยความเป็นกัลยาณมิตร 2. ขั้นสำรวจหาปัญหาที่แท้จริงด้วยสติ 3. ขั้นการหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยโยนิโสมนสิการ 4. ขั้นสรุปปัญหา สรุปแนวทางแก้ไขที่จะนำไปปฏิบัติและให้กำลังใจด้วยพลธรรม 5. ขั้นลงมือปฏิบัติด้วยมรรค 8
  3. รูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยารายบุคคลต่อสตรีที่มีภาวะซึมเศร้าผ่านสื่อสังคม พบว่า RCTA Model เป็นรูปแบบที่การบูรณาการของหลักธรรมทางพุทธศาสนากับจิตวิทยา

References

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). จิตเวชทั่วไป. สืบค้น 17 กันยายน 2563, จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general

ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. (2562). ประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลกประจำปี 2019. สืบค้น 16 กันยายน 2563, จาก https://thestandard.co/list-of-countries-by-suicide-rate-2019/

ผ่องพรรณ ภะโว. (2561). บูรณาการการปรึกษาพหุทฤษฎีโดยใช้ทฤษฎีปัญญานิยมร่วมกับทฤษฎีประสบการณ์นิยม-มนุษยนิยมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระครูภาวนาวีรานุสิฐ วิ.. (2560). กระบวนการให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์,13(3), 144-154.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และคณะ. (2557). ประสิทธิผลการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรม ต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(4),381-393.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2552). มหันตภัยโรคซึมเศร้ามาแรงสูสีโรคหัวใจ. สืบค้น 19 กันยายน 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/5385-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29