ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวล, ระดับความวิตกกังวล, ทักษะในการพูดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ 2) เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ ดัดแปลงมาจาก Foreign Language Classroom Anxiety Scale (FLCAS) ของ Horwitz et al (1986) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา มีอยู่ 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านผู้เรียนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.71 2)ปัจจัยด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.51 และ 3) ปัจจัยด้านครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.45 และ 2. ระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.39 ประเด็นที่นักศึกษาวิตกกังวลมากที่สุด คือ ข้าพเจ้าเกรงว่าอาจารย์ชาวต่างชาติจะฟังไม่เข้าใจในสิ่งที่ข้าพเจ้าจะสื่อสาร และ แม้ว่าข้าพเจ้าเตรียมตัวในการพูดมาอย่างดี แต่ข้าพเจ้ายังรู้สึกวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ย 4.65 รองลงมา คือ ข้าพเจ้ารู้สึกอายสำเนียงการพูดภาษาอังกฤษของตนเอง มีค่าเฉลี่ย 4.63 และ น้อยที่สุด คือ ข้าพเจ้ารู้สึกตระหนก เมื่อข้าพเจ้าต้องพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า มีค่าเฉลี่ย 4.10 ตามลำดับ
References
เกศนีย์ มากช่วย และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 (131-143). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
คัมภีรภาพ คงสำรวย และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. วารสารแสงอีสาน, 2561(15), 143-154.
จิตพิสุทธ์ จันตะคุต. (2561). ความสำคัญของภาษาอังกฤษ. สืบค้น 8 มกราคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs.
เจนจิรา ชัยปาน และคณะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากลชั้นปีที่ 4 (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: สงขลา.
ทนัญชัย เยี่ยมสวัสดิ์. (2559). ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ: องค์ประกอบผลกระทบ และแนวทางการแก้ปัญหา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 2559(30), 1.
ธีราภรณ์ กิจจารักษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา: กรุงเทพฯ.
ประดิษฐ์ คำมุงคุณ และคณะ. (2562). ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2562(6), 5860-5875.
ปิยนุช อุดมเกียรติสกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน จังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 บูรณาการวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน. (886). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
พนิดา ตาสี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: นครราชสีมา.
Horwitz, E.J., Horwitz, M. B., & Cope, J. (1986). Foreign language classroom Anxiety. The Modern Language Journal. 70(2): 125-132.