ความจงรักภักดีในวิชาชีพ ของผู้ทำบัญชีในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความจงรักภักดีในวิชาชีพ, วิชาชีพการบัญชี, ผู้ทำบัญชีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความจงรักภักดีในวิชาชีพของผู้ทำบัญชีในจังหวัดพิษณุโลก 2) เปรียบเทียบความจงรักภักดีในวิชาชีพของผู้ทำบัญชีในจังหวัดพิษณุโลก ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำบัญชีที่แตกต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทำบัญชีในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 362 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t-test และ F-test (ANOVA และ MANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ทำบัญชีในจังหวัดพิษณุโลกมีความจงรักภักดีในวิชาชีพบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และด้านการให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการยินดีอุทิศตนให้กับวิชาชีพและด้านการมีความรักแลศรัทธาต่อวิชาชีพอยู่ในระดับมาก ผลเปรียบเทียบความจงรักภักดีในวิชาชีพของผู้ทำบัญชีในจังหวัดพิษณุโลกพบว่า ผู้ทำบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและประสบการณ์ในการทำบัญชีที่แตกต่างกัน มีความจงรักภักดีในวิชาชีพบัญชีโดยรวมแตกต่างกันและความจงรักภักดีในวิชาชีพบัญชีเป็นรายด้าน ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับผู้ทำบัญชีที่มีเพศแตกต่างกัน มีความจงรักภักดีในวิชาชีพบัญชีโดยรวมไม่แตกต่างกัน
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). คลังข้อมูล. สืบค้น 25 มีนาคม 2563, จาก http://dbd.go.th/bdw/main.html.
กองกำกับบัญชีธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543. กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้ง 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
จรรยา มีสม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความจงรักภักดีในวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ประเสริฐ หวังรัตนปราณี. (2560). ร่วมพัฒนานักบัญชีมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ประสัณห์ เชื้อพานิช. (2558). รายงานสภาวิชาชีพบัญชีประจำปี 2558. กรุงเทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พิชิต ขัติเรือง. (2550). ความพึงพอใจโดยรวมและความจงรักภักดีต่อองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานบริษัทสุพรีมพรีซิชั่นแมนูแฟคเจอริ่งจำกัด (สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
วิชชุลดา อมรสิน. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สุธีค ทวณิช. (2547). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายบัญชี : รู้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง. วารสารนักบัญชี, 26(1), 47.
Hair and others. (2006). Multivariate Data Analysis (6th Edition). Upper Saddle River,N.J. : Pearson Education Inc.
Johnson-Conley. (2009). Using Community-based Participatory Research in the Development of a Consumer-driven Cultural Competency Tool. University of Washington.