รูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คำสำคัญ:
พุทธนวัตกรรม, การสื่อสาร, การประชาสัมพันธ์, สำนักงานตำรวจแห่งชาติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารการประชาสัมพันธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3) เพื่อศึกษารูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบลงภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นกลุ่มกำหนดนโยบาย กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลุ่มนักวิชาการทางศาสนา รวมจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามวัตถุประสงค์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 แบบ ได้แก่ 1) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ 2) การสนทนากลุ่มเฉพาะ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดข้อมูล 2 ประเภท คือ 1) การจำแนกข้อมูลในระดับจุลภาค และ 2) การจำแนกข้อมูลในระดับมหภาค
ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารงานประชาสัมพันธ์ ได้แก่ โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ ลีลาผู้นำ ระบบการประชาสัมพันธ์ ทักษะ และค่านิยมร่วม 2) พุทธนวัตกรรมการสื่อสาร ได้แก่ การบริหารจัดการข้อมูลอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง (สันทัสสนา) การเผยแพร่ข้อมูลอย่างจูงใจให้เห็นจริงเพื่อสร้างการรับรู้ (สมาทปนา) มีความแกล้วกล้า กำลังใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (สมุตเตชนา) การรับรู้ เข้าใจ และเห็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับการสื่อสาร (สัมปหังสา) 3) รูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แก่ มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคม การตลาดสมัยใหม่ที่สะท้อนความเป็นจริง การยึดหลักสากลและสร้างความแตกต่าง การมีฐานข้อมูลเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายใต้จริยธรรม เกิดประสิทธิภาพซึ่งถือเป็นส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริหารงานประชาสัมพันธ์และพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร อันถือเป็นเป้าหมายที่จะทำให้องค์กรทำงานด้านการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ทันกับยุคสมัยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา, ร.ท. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
ธณัฐพล ชะอุ่ม. (2558). การบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(1), 137.
ปณัชญา ลีลายุทธ และ รังสี สุทนต์. (2563). นวัตกรรมการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทโท). วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 16(2), 113-128.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์สวยจำกัด.
พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2563, 2 มกราคม). การปฏิบัติงาน IO : INFORMATION OPERATIONS ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการสื่อสารและสถานการณ์วิกฤต. การบรรยายพิเศษ ในงานสัมมนาผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สืบค้น 2 มกราคม 2563, จาก http://drphot.com/thinkabout/archives/984
มนตรี พรมวัน. (2563). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.
วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2560). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการจัดการแบรนด์องค์กรของธนาคารพาณิชย์ไทย: กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). วารสารนักบริหาร. 31(1), 36-44.
วราพร ดำจับ. (2560). การสื่อสารในยุคดิจิทัล. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 3(1), 46-60.
ศิริวรรณ จุลทับ. (2558) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. วารสารราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 2(2), 175-194.
เอกนฤน บางท่าไม้. (2555). เอกสารประกอบการสอน เรื่องหลักการประชาสัมพันธ์. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.