รูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ เมืองเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

เมืองที่เป็นมิตร, สังคมผู้สูงอายุ, การเตรียมความพร้อม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่องรูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมในการรองรับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของชุมชน สภาพแวดล้อมและความสามารถของชุมชนในการจัดสภาพแวดล้อมสู่เมืองที่เป็นมิตรของผู้สูงอายุ และสร้างรูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำหรับกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นำท้องถิ่น  เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้สูงอายุ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การประชุมแบบสอบถาม และแบบประเมินรูปแบบ ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุในด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพและการศึกษา ซึ่งชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการดำเนินงานในลักษณะกิจกรรมและการจัดตั้งกลุ่มหรือกองทุน เพื่อช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับสภาพแวดล้อมของชุมชนในการจัดสภาพแวดล้อมสู่เมืองที่เป็นมิตรของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความสามารถของชุมชนในการจัดสภาพแวดล้อม สู่เมืองที่เป็นมิตรของผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนรูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบมีองค์ประกอบ 8  องค์ประกอบตามกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีปรับประยุกต์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทชุมชน ซึ่งชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพลังขับเคลื่อนในการสร้างเมืองที่เป็นมิตรเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขในชุมชน

References

กมลชนก ภูมิชาติ. (2557). รูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอาย. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). แผนกลยุทธ์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

ขวัญชนก ทองปาน. (2559). การศึกษาโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย: ศึกษาเปรียบเทียบจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

ดำรงศักดิ์ จันโททัย และคณะ. (2557). การบริหารจัดการเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในสังคมไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชราภรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 38-54.

สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2562). รายงานสถิติจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2562. สีบค้น 18 ธันวาคม 2562, จาก https: //drive.google.com/file/d/1hnw1TzI7eBGyDqarRr1XdxmwCDgrQgem/view.

ศิลปะสวย ระวีแสงสูรย์. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an Introductory Analysis (3rd ed). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

เมืองเกษม เ. (2021). รูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 7(1), 239–254. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/252735