พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาตนให้มีความสุข

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี ไวท์ คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาล้ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาล้ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุวัฒสัน รักขันโท คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาล้ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, การพัฒนาตน, ความสุข

บทคัดย่อ

          การพัฒนาตนให้มีความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยาเน้นการเรียนรู้ และการปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพอดีหรือการมีดุลยภาพของชีวิต มีความสัมพันธ์อันกลมกลืนระหว่างการดำเนินชีวิตของบุคคลกับสภาพแวดล้อม (มัชฌิมาปฏิปทา) และมุ่งการกระทำตนให้มีความสุขด้วยตนเอง โดยการฝึกจิตให้เป็นไปในทางบวก รู้เท่าทันตนเอง เข้าใจตนเองมากกว่าการพึ่งพาอาศัยวัตถุ (โยนิโสมนสิการ) มีความเมตตากรุณา รู้จักเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางการพัฒนาชีวิตของตนให้มีความสุขที่ยั่งยืน

          การพัฒนาตนให้มีความสุขในบทความนี้ประกอบด้วย 3 หลักสำคัญทางพุทธธรรม คือ ทมะ สิกขาและภาวนา มีวิธีการที่จะพัฒนาตนให้มีชีวิตที่ดีงามและมีความสุข 7 ประการ ได้แก่ การรู้จักเลือกหาแหล่งความรู้ และแบบอย่างที่ดี การรู้จักจัดระเบียบชีวิต การถึงพร้อมด้วยแรงจูงใจให้สร้างสรรค์ การมีความมุ่งมั่นพัฒนาตนให้เต็มศักยภาพ การปรับเจตคติและค่านิยมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม มีสติรู้จักแก้ปัญหา และพึ่งพาตนเองได้

References

คัคนางค์ มณีศรีและวัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์. (2559). ความสุขคืออะไร?. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2564, จาก https://smarterlifebypsychology.com/2017/09/27/ความสุขคืออะไร/

ตฎิลา จำปาวัลย์. (2562). กระบวนการของพุทธจิตวิทยากับความสงบสุข. วารสารจิตวิทยาเชิงพุทธ, 4(2), 114-125.

ทิพย์ธิดา ณ นคร. (2563). การพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(2), 1-10.

พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตโต). (2531). พัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2537). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พุทธทาสภิขุ. (2545). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พิสมัย วัฒนาวรสกุล. (2551). ปัจจัยพยากรณ์ความสุขในชีวิตของพนักงานองค์การรัฐบาลและเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ระวี ภาวิไล. (2558). อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.

เริงชัย หมื่นชนะ. (2558). ระบบและทฤษฎีพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 2(1), 71-74.

วินัย เพชรช่วย. (2554). การพัฒนาตน Self Development. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Self_Development.htm

อาภรทิพย์ สมบัติบริบูรณ์. (2561). แนวโน้มการจัดการศึกษาพุทธจิตวิทยา: กรณีศึกษาศักยภาพจิตในอนาคต (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

NovaBizz. (2560). เทคนิคทางจิตวิทยาที่ใช้ในการพัฒนาตน. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Technique_Develop-Psycho-1.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

ไวท์ ส., ศรีเครือดง ส., & รักขันโท ส. (2021). พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาตนให้มีความสุข. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 7(1), 425–440. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/252434