การสื่อสารและกระบวนการยอมรับของผู้บริโภคอาหารตามหลักคีโตเจนิค

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ เจริญสิทธิพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กระบวนการยอมรับ, การสื่อสาร, อาหารคีโตเจนิค

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการสื่อสาร และกระบวนการยอมรับของผู้บริโภคอาหารตามหลักคีโตเจนิค มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาประเด็นการสื่อสารของกลุ่มผู้บริโภคอาหารตามหลักคีโตเจนิคของสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊ก ThaiKeto Friends และเพื่อศึกษากระบวนการยอมรับการทานอาหารของกลุ่มผู้บริโภคอาหารตามหลักคีโตเจนิคของสมาชิกกลุ่ม เฟซบุ๊ก ThaiKeto Friends โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเอกสาร (Document analysis) ประเด็นการสื่อสารผ่านกลุ่มเฟซบุ๊ก ThaiKeto Friends และ การสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มบุคคลที่ได้เป็นสมาชิกภายในกลุ่ม ThaiKeto Friends จำนวน 10 คน

            ผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารภายในกลุ่มเฟซบุ๊ก ThaiKeto Friends มีการสื่อสาร 2 ประเด็น ได้แก่ การปรึกษาและสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางการทานอาหารคีโตเจนิค และการแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวในการทานอาหารคีโตเจนิค ส่วนกระบวนการยอมรับการทานอาหารคีโตเจนิค แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการรับรู้ พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์รับรู้เรื่องการทานอาหารตามหลักคีโตเจนิคจากสื่อ Facebook มากที่สุด 2) ขั้นความสนใจ ผู้ให้สัมภาษณ์มีความสนใจจากการได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารคีโตเจนิคเพิ่มมากขึ้น จากกลุ่ม ThaiKeto Friends 3) ขั้นการประเมิน ผู้ให้สัมภาษณ์ได้มีการประเมินจากความสำเร็จของผู้ได้รับประทานอาหารประเภทคีโตเจนิค และแอดมินเพจ โดยเห็นว่า การทานคีโตเจนิคมีประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ ความง่ายต่อการรับประทาน การทดลองได้ การสังเกตผลได้ และนำปรับให้เข้ากันได้ในชีวิตประจำวันของการรับประทานคีโตจีนิคอีกด้วย 4) ขั้นตอนการนำไปปฏิบัติ ผู้ให้สัมภาษณ์คนมีความพึงพอใจในการปฏิบัติตนในการรับประทานอาหารประเภทคีโตเจนิค เนื่องจากเห็นผลในการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และไม่เคร่งเครียดกับการลดน้ำหนักเหมือนกับวิธีอื่น ๆ และ 5) ขั้นการยืนยัน ผู้ให้สัมภาษณ์ยังรับประทานอาหารประเภทคีโตเจนิค อย่างต่อเนื่อง เพราะมีความพอใจต่อผลลัพธ์ที่ได้รับนั้นก็คือ สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักที่ลดลง และ มีการแบ่งปันข้อมูลการทานคีโตเจนิคให้แก่บุคคลอื่นต่อไปอีกด้วย

 

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานเขตสุขภาพที่ 1-13 กระทรวงสาธารณสุข. (2561).รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2561. สืบค้น 25 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/Books/543/รายงานสุขภาพคนไทย+ปี+2561.html

ณัฏฐชา หน่อทอง. (2551). การสื่อสารการตลาดแบบไวรัสของตราสินค้าดีแทค (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ลพบุรี.

ระวิแก้ว สุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณี เฟซบุ๊ก (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(4 ฉบับพิเศษ), 195 – 205.

เสถียร เชยประทับ. (2536). สื่อมวลชนกับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล. (2554). ความตระหนักและการยอมรับการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

Pobpad. (2563). Keto Diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น. สืบค้น 25 ตุลาคม 2563, จาก https://www.pobpad.com/keto-diet-เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

เสาวลักษณ์ เจริญสิทธิพันธ์, & ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2021). การสื่อสารและกระบวนการยอมรับของผู้บริโภคอาหารตามหลักคีโตเจนิค. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 7(1), 223–238. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/250364