วิเคราะห์การใช้คำอุปมาเชิงภาษาศาสตร์ในวรรณกรรม ของ พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)

ผู้แต่ง

  • พระครูชิโนวาทธำรง (ปรีดา) ปีติธมฺโม คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาล้ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขนอีสาน

คำสำคัญ:

คำอุปมา, วรรณกรรม, ภาษาศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์การใช้คำเชื่อมในคำอุปมาในวรรณกรรมของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการถ่ายโยงทางความหมายของคำอุปมาในวรรณกรรมของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสารและใช้วิธีการอธิบายแบบวิจัยเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่าการใช้คำเชื่อมในคำอุปมาในวรรณกรรมของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 มี 5 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 มีคำเชื่อมว่า “เปรียบเทียบ” “เปรียบเหมือน” “เปรียบเสมือน” “เหมือน” ประเภทที่ 2 มีคำเชื่อมว่า “ดุจดัง” “ดุจ” “อุปมาดัง” “อุปมาประหนึ่ง” “ประดุจ” “ประหนึ่ง” ประเภทที่ 3 มีคำเชื่อมว่า “กว่า” “ราวกะว่า”  ประเภทที่ 4 มีคำเชื่อมว่า “ฉันใด....เช่นนั้น” “ฉันใด....ฉันนั้น” ประเภทที่ 5 มีคำเชื่อมว่า “นับประสาอะไร” และการวิเคราะห์กระบวนการถ่ายโยงทางความหมายของคำอุปมาในวรรณกรรมของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) พบว่า มีกระบวนการถ่ายโยงทางความหมาย 7 รูปแบบ ดังนี้ 1) อาศัยลักษณะ 2) อาศัยหน้าที่ 3) อาศัยสภาพ 4) อาศัยการกระทำ 5) อาศัยอาการ 6) อาศัยระดับความสูง-ต่ำ และ 7) อาศัยคุณสมบัติ ซึ่งได้สะท้อนมโนทัศน์เชิงเปรียบเทียบของผู้ประพันธ์ต่อสรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลก ทั้งส่วนที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

References

ชุมสาย สุวรรณชมภู. (2544). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประทีป พืชทองหลาง. (2555). พุทธวิธีการสอนเรื่องชีวิตผ่านอุปมาอุปไมยในพระสุตตันตปิฎก (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2522). ศิลปะการเขียน. กรุงเทพฯ : วิชาการ.

พระปลัดปรีชา นนฺทโก (จุลเจือ). (2561). การสอนแบบอุปมาอุปไมยในพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั, 25(3), 80 – 93.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2545). กรรมทีปนี. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.

“_________”. (2545). ภูมิวิลาสินี. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.

“_________”. (2545). วิมุตติรัตนมาลี. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.

พระมหาทองสุข ปญฺญาวณฺโณ (พรหมมีเดช). (2560). การศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของการใช้อุปมาเพื่อสื่อธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์โอปัมมวรค (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

ยุวพาส์ (ประทีปะเสน) ชัยศิลป์วัฒนา. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิภา กงกะนันท์. (2533). วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สมรรัตน์ พันธุ์เจริญ. (2542). ลักษณะคำประพันธ์ไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏพระนคร.

สิทธา พินิจภูวดล และคณะ. (2514). การเขียนและการพูด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2534). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29