การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานในการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ทักษะทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานในการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา 2) ศึกษาทักษะทางสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานในการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling) จำนวน 22 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานในการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.59) 2) ผลการศึกษาทักษะทางสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3)นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานในการพัฒนาทักษะทางสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) สรุปได้ว่า กิจกรรมการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีความสามัคคี มีความกระตือรือร้น มีการปรับตัว ช่วยเหลือเกื้อกูล และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อการเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในสังคมได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
References
กาญจน์กมล สุวิทยารัตน์. (2557). การศึกษาและพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(86), 140–148.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ทิศนา แขมมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21 การปรับหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี ประจญ. (2556). การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางสังคม : ประยุกต์ใช้แนวคิด การประเมินเสริมสร้างพลังอำนาจ. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 19(1), 89-96.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และคณะ. (2557). รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 123-134.
วิภาดา วงศ์สุริยา และคณะ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้โปรแกรมภาษาc++. ใน การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 10 (น, 296-301). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธัญญา ผลอนันต์ และจุไรพร วิสุทธิกุลพาณิชย์. (2551). ใช้หัวก่อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว’94.
ศิริชัย กาญจนวสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปาการศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 78-85.
สุพจน์ วิทลัสวศินุ. (2552). การพัฒนากิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะสังคมในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
Goleman, Danial. (2006). Social Intelligence : The New Science of Human Relationship. New York: Arrow books.