การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านประวัติศาสตร์ชุมชนด้วยภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านเขาดินใต้ ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ดาเรศ นฤมล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ประจักร์ รอดอาวุธ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • รังสรรค์ หล้าคำจา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • วิมลพร ระเวงวัลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, หลักสูตรท้องถิ่น, ประวัติศาสตร์ชุมชน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนโอสถสภาอุปถัมภ์ ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องภาษาอังกฤษสำหรับประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขาดินใต้ ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องภาษาอังกฤษสำหรับประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขาดินใต้ ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู ผู้นำชุมชน ผู้อาวุโส ผู้ปกครอง และผู้รู้ประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นอย่างดี จำนวน 30 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 20 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ด้านความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยที่ 4.25 และทักษะที่มีความสำคัญที่สุดคือ ทักษะการพูด อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 รองลงมาคือทักษะการฟัง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.19 เช่นกัน และด้านปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ การไม่รู้คำศัพท์ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยที่60 รองลงมาคือ ปัญหาไม่สามารถนำคำศัพท์ที่เคยเรียนรู้มาแล้วมาใช้งานได้ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยที่ 4.35 และปัญหาไม่ทราบไวยากรณ์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยที่ 4.20 เช่นเดียวกัน
  2. 2. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างมีดังต่อไปนี้ 1) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับปานกลาง มีคะแนนอยู่ระหว่าง 21-30 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0 2) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับอ่อน มีคะแนนอยู่ระหว่าง 11-20 คิดเป็นร้อยละ 35.0 และ 3) ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับเก่ง มีคะแนนอยู่ระหว่าง 31-40 คน คิดเป็นร้อยละ 20.0 และผลการวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชน และสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 รองลงมา คือ หลักสูตรที่มีเนื้อหาทั่ว ๆ ไป จึงได้จากอินเตอร์เน็ต อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.15 และมีเนื้อหาไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน อยู่ระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.12 เช่นเดียวกัน
  3. 3. ด้านความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์ชุมชน พบว่าโดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปเล่มของหลักสูตรท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่าภาพประกอบสื่อความหมายตรงกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียนมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.53 ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อเนื้อหาของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.12 เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนมีความเหมาะสมมากที่สุดค่าเฉลี่ยอยู่ที่62

References

เกรียงศักดิ์ มาลารัตน์ และคณะ. (2549). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับโรงเรียน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

จารุวรรณ บุตรเคน และคณะ. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร:กรณีศึกษาโรงเรียนปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

จิตพิสุทธ์ จันตะคุต. (2561). ความสำคัญของภาษาอังกฤษ. สืบค้น 8 มกราคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อสีนเพรส.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2529). สถานะของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง. 5(2), 53-63.

ชานนท์ วิสุทธิชานนท์. (2557). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา

ชีวัน ขันธรรม. (2547). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อท้องถิ่นระดับโรงเรียนในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และธัญภา ชิระมณี. (2557). ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษและปัญหาในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัย (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

บำรุง กันรัมย์ และคณะ. (2559). การศึกษาปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปิยนุช อุดมเกียรติสกุล. (2559). กลยุทธ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายในโรงเรียนเอกชนจังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 (น. 87). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สมยงค์ โสมอินทร์ และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้านประวัติศาสตร์ชุมชนด้วยภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเขาพัฒนา ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. มนุษยสังคมสาร, 7(2), 141-157.

สุรินทร์ กิจนิตย์วีร์. (2548). รู้จักนักคิด. วารสารสื่อพลัง. 23(2), 20-30.

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt Brace and World.

Downloads