ความพึงพอใจของบัณฑิตต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ณัชชามน เปรมปลื้ม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อุมาภรณ์ สุขารมณ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อริสา สำรอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, หลักสูตร, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 100 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ได้ตรงกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย 2) กลุ่มตัวอย่างมีความความพึงพอใจต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอาจารย์อยู่ในอันดับหนึ่ง รองลงมา ด้านกระบวนการคัดเลือกนักศึกษา ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าความรู้และความเชี่ยวชาญ การเอาใจใส่ผู้เรียน และเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกในการรเรียนรู้ของอาจารย์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ความพึงพอใจของผู้เรียนและสนับสนุนการมีคุณภาพของหลักสูตร

References

เกรียงศักดิ์ แสงจันทร์. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

จุฑารัตน์ ทิพย์บุญทรัพย์ และศศิธร โรจน์สงคราม. (2560). การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 4(1), 56-69.

ใจชนก ภาคอัต. (2556). ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของสถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (รายงานผลการวิจัย). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ฝ่ายบริการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. (2563). จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพมหานคร.

พรรณพนัช จันหาและอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1) สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/30845

วรรณภา โพธิ์ศรี. (2546). การพัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตการศึกษา 7 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

วริศรา ดวงตาน้อย. (2556). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการบัญชี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์.

วิมล วิวัฒน์เจริญและวนิดา พลศรี. (2561). การศึกษาประโยชน์และการนำไปใช้จากผลการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์. วารสารราชพฤกษ์, 16(2). 38-45.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid= 6420& filename=developissue

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2552. สืบค้น 21 มีนาคม 2563, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. สืบค้น 21 มีนาคม 2563, จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/QAMUA58/qa%20manual58/QA_MANUAL30032558.pdf

American Psychological Association (APA). (2018). APA Guidelines on Core Learning Goals for Master’s Degree Graduates in Psychology. สืบค้น 22 มีนาคม 2563, จาก https://www.apa.org/about/policy/masters- goals-guidelines.pdf.

Haggis, T. (2003). Constructing images of ourselves? A critical investigation into ‘approaches to learning’research in higher education. British Educational Research Journal, 29, 89-104.

Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy (revised and updated). Englewood Cliffs, NJ: Cambridge Adult Education.

Nathanson, C., Pauhus, D.L., & Williams, K.M. (2004). The challenge to cumulative learning: Do introductory courses actually benefit advanced students? Teaching of Psychology Journal, 31, 5-9.

Siva, M.A.B., Azevado, C., Júnior, A.C.P., & Salgado, V.L. (2019). Contemporary research in contemporary research in educational psychology. (2019). สืบค้น 9 สิงหาคม 2563, จาก http://www.scielo.edu.uy/pdf/cp/v13n1/en_1688-4221-cp-13-01-82.pdf.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

เปรมปลื้ม ณ., สุขารมณ์ อ., & สำรอง อ. (2021). ความพึงพอใจของบัณฑิตต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 7(1), 205–222. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/248228