ลีลาภาษาของ พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี ในรายการทุบโต๊ะข่าว
คำสำคัญ:
ลีลาภาษา, การรายงานข่าว, ภาษาเฉพาะบุคคล, อวัจนภาษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลีลาภาษาของ พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี ในรายการทุบโต๊ะข่าว เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากรายการเล่าข่าวทางสถานีโทรทัศน์ช่องอมรินทร์ทีวี ที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2562 สุ่มตัวอย่างข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 48 ตอน นำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดลีลาภาษา ซึ่งเป็นแนวคิดทางภาษาศาสตร์ ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านวัจนภาษาและด้านอวัจนภาษา ในด้านวัจนภาษา พบว่า เขาลีลาภาษาเด่นใน 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) คำอุทาน 2) คำสรรพนาม 3) ถ้อยคำแสดงการเน้นย้ำ 4) ประโยคคำถาม 5) ภาษาระดับสนทนา ส่วนด้านอวัจนภาษา พบว่า เขาสร้างอัตลักษณ์ด้านการแต่งกายเป็นทางการ การเคลื่อนไหว สายตา น้ำเสียง เพื่อช่วยในการสื่อสาร และทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมกับการรับฟังข่าว ผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะความเป็นตัวตน และลีลาภาษาเฉพาะบุคคลของพุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี ซึ่งลีลาภาษาของเขาส่งผลต่อจำนวนผู้ชมที่ติดตามรายการ
References
กันยารัตน์ พรหมวิเศษ. (2544). วัจนลีลาในสารคดีโทรทัศน์โลกสลับสี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี: ปัตตานี.
จงจิตร สุขสวัสดิ์. (2545). วัจนลีลาของข่าวเจาะพิเศษประเภทข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี: ปัตตานี.
จินดา วรรรณรัตน์, จริญญา ธรรมโชโต และ สมิทธ์ชาต์ พุมมา. (2560). ลีลาภาษาของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในคอลัมน์คนดังนั่งเขียน. การประชุมวิชาการระดับชาติ“วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 , 1-7.
ณจิต ดีปานวงศ์. (2539). อิทธิพลของอวัจนภาษาของนักร้องแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ต่อเยาวชน (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
ปาริฉัตร พิมล. (2562). กลวิธีการใช้ภาษาของ ธีมะ กาญจนไพริน ในรายการข่าว “จั๊ด ซัดทุกความจริง”. วารสารศิลปะศาสตร, 7(2): 130 – 142.
พัชรีย์ จำปา. (2538). วัจนลีลาในวรรณกรรมสำหรับเด็ก (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
แวอาซีซะห์ ดาหะยี. (2546). วัจนลีลาของมังกรห้าเล็บในคอลัมน์ "ลั่นกลองรบ" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี: ปัตตานี.
เรณู รอดทัพ. (2550). ลีลาการใช้ภาษาในงานเขียนของพัชรศรี เบญจมาศในเนชั่นสุดสัปดาห์ ระหว่างปี พ.ศ. 2545 -2548 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
ศุกลมาน เอี่ยมโอภาส. (2542). บทบาทการสื่อสารเชิงอวัจนะของผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ในปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
สมชาติ กิจยรรยง. (2539). อ่านใจคนจากภาษาท่าทาง. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน.
สุมาลี พลขุนทรัพย์. (2555). วัจนลีลาของ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ในรายการคนค้นฅน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Afriza, Irkhas Ziana Rizqi. (2017). Language Style in Exclusive Interview of Jessie and Sarah Sechan of NET TV. (Thesis, English Language and Letters Department.Humanities Faculty). Maulana Malik Ibrahim State Islamic University of Malang.
Genjit Marjiyanto. (2016). Language Style in The Headlines of Lampu Hijau Newspaper. (Thesis, Faculty of Humanities Diponegoro University Semarang.
Joos, M. (1961). The Five Clocks, A Linguistic Excursion into the Five Styles of English Usage. New York: Harcourt, Brace and World.
Lo, S. K. (2008). The nonverbal communication functions of emoticons in computer mediated communication. Cyber Psychology & Behavior, 11(5), 595-597.
Tv Digital Watch. (2563). เรตติ้งข่าวเย็น – ค่ำ (ออนไลน์). สืบค้น 23 กันยายน 2563, จาก www.Tvdigitalwatch.com