การคิดเร้ากุศลเพื่อการเผชิญหน้ากับวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • พระมหาประสิทธิ์ แก้วศรี วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การคิดเร้ากุศล, โคโรน่า 2019, การมองโลกในแง่ดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอวิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือวิธีคิดปลุกเร้าคุณธรรม เพื่อการเผชิญหน้ากับวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทั่วโลกกำลังเจอกับปัญหาเดียวกัน ส่งผลกระทบต่อชีวิตทุกคน ทำให้กลายเป็นวิกฤติโรคระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโลก ประเด็นที่นำเสนอ คือ ปัญหาด้านสุขภาพจิต เพราะการปรับตัวแบบ New normal บวกกับปัญหาชีวิตที่ต้องรับมือ เช่น การตกงาน รายได้ลดลง ทำให้รู้สึกว่าชีวิตขาดความมั่นคง ส่งผลให้หลายคนเกิดความเครียด วิตกกังวล ภาวะภายนอกกดดันให้สภาพจิตใจตกต่ำ คิดลบ เพราะมองไม่เห็นความหวัง สามารถแก้ไขได้ด้วยแนวคิดทางจิตวิทยา คือ การมองโลกในแง่ดีและการคิดเร้ากุศล ได้แก่ 1) การคิดในแง่ดี 2) การคิดตามเป็นจริง 3) รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง 4) คิดหาโอกาส 5) คิดไม่ประมาท มีหลักการและวิธีการที่จะช่วยให้เห็นมุมบวกของชีวิต มองโลกในแง่ดี ท่ามกลางวิกฤติ พบโอกาส และมีความหวังต่อการดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้ ถือเป็นวัคซีนทางจิตใจ ที่จะช่วยผู้คนเผชิญหน้ากับวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเข้มแข็งและมั่นคง

References

จรินทร รัตนวาณิชกุล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งในการมองโลกกับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยวัณโรค (ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชากรพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยคริสเตียน. นครปฐม.

ปนัดดา มหิทธานุภาพ. (2555). การมองโลกในแง่ดี การปฏิบัติพัฒนากิจและความผาสุกทางใจของผู้สุงอายุอำเภอวังน้ำเขียน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 38(2), 166-178.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต).(2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พุทธจักร. 59(11), 5-10.

“_________”. (2559). โพชฌงค์พุทธวิธีเสริมสุขภาพ, โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์: กรุงเทพมหานคร.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2547). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย, พิมพ์ครั้งที่ 82, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระนิพนธ์ โกวิโท แลเซอะ. (2562). ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี (ปริญญาพุทธศตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พัชรา รุ่งสันเทียะ. (2559). อิทธิพลของการมองโลกในแง่ดี ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานโดยมีกลวีในการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรสื่อของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

เพริศพรรณ แดนศิลป์. (2556). สู่ความกว้างของดวงใจ : บนเส้นทางงานเยียวยาจิตใจวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สรรเสริญ อินทรัตนน์. (2557). จิตลิขิตชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลินี มธุรพจน์พงศ์. (2554). ความหวัง การมองโลกในแง่ดีและความสามารถในการฟื้นคืนได้ : ตัวแปรทำนายผลงานความพึงพอใจในงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันกับองค์การ. Viridian E-Journal, 5(3), 306-318.

วรางคณา รัชตะวรรณ และคณะ. (2554). การศึกษาและพัฒนาการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 41.

อรพินทร์ ชูชม. (2544). จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติในการมองโลกในแง่ดี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 7(1.), 43-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-06