แรงจูงใจการทำงานจิตอาสาตามหลักพุทธจิตวิทยาของบุคคล หลากหลายอาชีพในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พิไลวรรณ บุญล้น คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาล้ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาล้ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาล้ยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การทำงานจิตอาสา, พุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจการทำงานจิตอาสาตามแนวทางพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมแรงจูงใจการทำงานจิตอาสาของบุคคลหลากหลายอาชีพ กรณีศึกษา ผู้ได้รับรางวัลตาราอวอร์ดของเสถียรธรรมสถาน 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจการทำงานจิตอาสาของบุคคลหลากหลายอาชีพ กรณีศึกษา ผู้ได้รับรางวัลตาราอวอร์ดของเสถียรธรรมสถาน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ทำงานจิตอาสาที่ได้รับรางวัลตาราอวอร์ดของเสถียรธรรมสถานระหว่างปี พ.ศ. 2555-2561 ทั้งชายและหญิง จำนวน 10 สาขาอาชีพ รวม 14 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คำถามสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) พบผลวิจัย ดังนี้

  1. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจการทำงานจิตอาสาตามแนวทางพระพุทธ ศาสนา หลักธรรมที่นำมาเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานจิตอาสา ได้แก่ อริยวัฑฒิ 5 พรหมวิหาร 4 และสังคหวตถุ 4 หลักจิตวิทยา คือทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจของมาสโลว์ และแมคเคลแลนด์
  2. ปัจจัยที่ส่งเสริมแรงจูงใจการทำงานจิตอาสา มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) มีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา 2) ความมีศีลธรรมในตนเอง เสียสละช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน เผื่อแผ่และแบ่งปัน 3) มีจิตที่เป็นผู้ให้ มีทัศนคติที่ดีคิดดี คิดทางบวก 4) มีความเห็นใจผู้อื่น 5) ความวิริยะอุตสาหะ คิดช่วยเหลือผู้อื่น การทำงานที่ทำด้วยใจ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) การเลี้ยงดูจากคนในครอบครัว 2) การเห็นตัวอย่างจากบุคคลต้นแบบที่ทำความดี ช่วยเหลือสังคม ทำให้เกิดศรัทธาที่จะดำเนินรอยตาม รวมทั้งจากการได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ได้เรียนรู้ถึงความเสียสละของพระพุทธเจ้า การได้เห็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 รวมถึงการทำงานเพื่อสังคมของคุณแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต และพ่อแม่ของตนเองที่อบรมสั่งสอนและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง 3) การมีกัลยาณมิตร ชักชวนไปร่วมทำกิจกรรมดี ๆ ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมที่ได้รับความเดือดร้อน
  3. แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการทำงานจิตอาสาตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1. มีใจ และความคิดเชิงบวก ที่พร้อมในการช่วยเหลือผู้อื่น 2. มีความเสียสละ โอบอ้อมอารี แบ่งปันให้แก่ผู้อื่น 3. มีกัลยาณมิตร ชักชวนไปร่วมทำกิจกรรมดี ๆ เพื่อสังคม 4. มีบุคคลต้นแบบ ที่เป็นตัวอย่างในการทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน 5. มีความรับผิดชอบต่อสังคม 6. มีปัญญาพิจารณาสิ่งที่ควรทำ เหมาะสมตามความสามารถของตนและทำด้วยสติ

References

กันธิชา เผือกเจริญ. (2556). ศึกษากระบวนการทำงานของจิตอาสากรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอโรคยศาล วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

จงรักษ์ ศุภกิจเจริญ. (2560). ประสบการณ์การเรียนรู้ ปัจจัย และแรงจูงใจของนักศึกษาในการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(2), 302-313.

อัจจนาถ ไชยนาพงษ์. (2559). ปัจจัยจูงใจความมีจิตอาสาในกิจกรรมสาธารณสุขของผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการในจังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 67-74.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

ธิดาชนก วงศ์พิทักษ์. (2556). ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ. โลกวิปริต-พุทธทาสภิกขุ. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.youtube.com/watch?v=6H7AipXeYZs

Abraham Maslow. (1954). Motivation and personality. New York: Harper and Row.

McClelland. (1961). The Achieving Society. New York: Free Press. p.121-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

บุญล้น พ., ศรีเครือดง ส., & ภูวชนาธิพงศ์ ก. (2021). แรงจูงใจการทำงานจิตอาสาตามหลักพุทธจิตวิทยาของบุคคล หลากหลายอาชีพในสังคมไทย. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 7(1), 71–86. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/247720