การส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ด้วยเทคนิค KWL-Plus กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 เขตมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, เทคนิค KWL-Plus, มหาวิทยาลัยราชภัฎเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus และเพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL- Plus กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นนักศึกษาในสาขาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 จำนวน 23 คน โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเรื่องสั้น ภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 2562 เครื่องมือการวิจัยเป็นแผนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิค KWL- Plus จำนวน 5 แผน แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามทัศนคติของนักศึกษาต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL- Plus วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่า a paired sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีคะแนนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ทัศนคติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิค KWL โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ( = 4.20, S.D. = 0.51)
References
กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล และ จารุณี ปล่องบรรจง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม KWL Plus สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุราษฏร์พิทยา 2. FEU Academic Review, 8(1), 132-142.
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2545). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.
ชูทิพย์ นาภู.(2549).เรื่องสั้นอังกฤษและอเมริกันประเภทเน้นการดำเนินเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันทิพา สันทัดการ.(2562). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ด้วยเทคนิค KWL Plus กรณีศึกษาของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 10(1), 94-103.
จินดารัตน์ ฉัตรสอน.(2558).การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL ร่วมกับแบบฝึก (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ
นิลุบล ภาณุรักษ์.(2557).รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL-Plus. สืบค้น 8 เมษายน 2562, จาก http://www.kksec.go.th/webinfo25/abstract/nirabol01.pdf
ประทิน มหาขันธ์. (2530). การสอนอ่านเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้น 3 มีนาคม 2562, จาก http://academic.obec.go.th/missiondetail.php?id=34
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2537). แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษมัธยมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สุวรรณา ดวงสวัสดิ์. (2555). การศึกษาผลการเรียนรู้และความคงทนในการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
Carr, E. and D. Ogle. (1987). KWL Plus: A strategy for comprehension and summarization. Journal of Reading, 30(7), 626-631.
Ceylan, N. (2016). Using short stories in reading skills. Procedia - Social and Behavioral Sciences 232 (2016), 311 – 315.
Collie, J., & Slater, S. (1987). Literature in the Language Classroom: A Resource Book of Ideas and Activities (1st ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika.
Ramsaran, S. (1983). Poetry in the language classroom. ELT Journal 37(1), 36-43.