การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด19

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ แสนสุภา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อุมาภรณ์ สุขารมณ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ผกาวรรณ นันทะเสน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การปรับตัว, นักศึกษา, สถานการณ์โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2563 จำนวน 328 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19  ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ตามแนวคิดการปรับตัวของนักศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านการเรียน ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย จำนวน 40 ข้อ มีลักษณะคำตอบให้เลือก 5 ค่า (Likert scale)  ผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และใช้สถิติวิเคราะห์ด้วยการทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova)

ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.41 อยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบเพศ พบว่า เพศชายและหญิงมีการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เปรียบเทียบความแตกต่างของการปรับตัวระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่แตกต่างกัน พบว่า นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกันมีการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักศึกษาที่มีชั้นปีแตกต่างกันมีการปรับตัวด้านการเรียน และด้านอารมณ์แตกต่างกัน

References

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.

กานต์ จำรูญโรจน์. (2563). 5วิธีฟื้นฟูจิตใจผ่านวิกฤตโควิด19. สืบค้น 23 กันยายน 2563, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/covid-19/

คณะกรรมการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเร่งด่วน ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษาในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เหมาะสมกับสังคมไทย. จดหมายข่าว, 21(2563).

ดรุณรัตน์ ผลสวัสดิ์. (2544). การปรับตัวและสุขภาพของนักศึกษาโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ(กศ.บป) สถาบันราชภัฎพระนคร (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สุขศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

นันทนพ เข็มเพชร. (2561). ความสามารถในการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2), 188-199.

นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย นเรศวร (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การอุดมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

พระมหามนตรี สามารถไทย. (2548). การปรับตัวของพระนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยในส่วนกลาง (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.

อรอนงค์ นิยมธรรม. (2560). การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 12(1), 273-285.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24-29.

Baker, R. W., & Siryk, B. (1984). Measuring adjustment to college. Journal of Counseling Psychology, 31(2), 179-189.

Karin Doolan. (2020). Student life during The COVID-19 Pandemic: Europe-wide insights. Retrieved September 29, 2020, from http://www.ehea.info/Upload/BFUG_HR_UA_71_8_1_Survey_results.pdf

Rogers. (1967). Client-Centered Therapy. Boston Houghton Miffin.

UNESCO. (2020). 4 ways COVID-19 could change how we educate future generations. Retrieved August 16, 2020, From https://www.weforum.org/agenda/2020/03/4-ways-covid-19-education-future-generations/

WHO Thailand. (2020). โรคโควิด 19 คืออะไร. สืบค้น 2 มิถุนายน 2563, จาก file://update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf

Zamira H. (2020). The Impact of COVID-19 on higher education: A study of interaction among students’ mental health, attitudes toward online learning, study skills, and changes in students’ life. Retrieved September 29, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/341599684.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31