การพัฒนาคลินิกการให้การปรึกษาแนวพุทธต้นแบบเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สาระ มุขดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • วิศาล สายเพ็ชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คลีนิคการให้การปรึกษาแนวพุทธ, การปรึกษาตามแนวสัปปายะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดตั้งคลินิกการให้การปรึกษาแนวพุทธทางกายภาพต้นแบบเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานของคลินิกการให้การปรึกษาแนวพุทธต้นแบบเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธจิตวิทยา คณะผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิเคราะห์การเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การศึกษาดูงานภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนั้นประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัย พบผลการวิจัย ดังนี้

1. ด้านการจัดตั้งคลินิกการให้การปรึกษาแนวพุทธทางกายภาพต้นแบบ โดยนำหลักสัปปายะ 7 มาประยุกต์กับการออกแบบคลินิกการให้การปรึกษาแนวพุทธ ประกอบด้วย 1) หลักสัปปายะ 7 คือ อาวาสสัปปายะ(สถานที่ๆ สงบ พื้นที่สะอาดสะอ้าน) โคจรสัปปายะ(สถานที่เดินทางไปมาสะดวก ไม่เป็นที่ลับตา มีทางเดินเรียบร้อยไม่รกรุงรัง) ภัสสะสัปปายะ (เป็นบรรยากาศที่มีการพูดคุย การสนทนาในเรื่องที่เหมาะสม เรื่องดีๆ) ปุคคลสัปปายะ (เป็นผู้ตั้งมั่นในไตรสิกขา ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ ชักจูงแนะนำไปในทางที่จะเป็นประโยชน์) โภชนสัปปายะ (น้ำดื่ม น้ำร้อนน้ำชา ที่เหมาะสม) อุตุสัปปายะ (อากาศภายในห้องมีการถ่ายเทสะดวก สะอาด สดชื่น พอเหมาะ) และอิริยาปถสัปปายะ (มีพื้นที่ให้ยืน นั่งมีโต๊ะ มีเก้าอี้ มีทางเดิน ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่อึดอัดระหว่างการสนทนาพูดคุย) 2) หลักของการออกแบบ ประกอบด้วย การจัดระดับนั่งให้การปรึกษา การตกแต่งผนังโดยรูปภาพ การเลือกเก้าอี้นั่งหรือโซฟา ลักษณะการนั่งสนทนา ขนาดของห้อง สีของห้องและ แสงไฟภายในห้องให้การปรึกษา

2. แนวทางการดำเนินงานของคลินิกการให้การปรึกษาแนวพุทธต้นแบบผู้วิจัยการสังเคราะห์แนวทางและสรุปแนวทางทางการดำเนินงานของคลินิกการให้การปรึกษาแนวพุทธต้นแบบใน 3 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วย 1) บุคลากรที่รับผิดชอบ 2) สถานที่/วัสดุ อุปกรณ์ 3) สื่อเอกสาร 4) การประสานงานเครือข่ายและ 5) การจัดการประชาสัมพันธ์ 2. ขั้นดำเนินการ ประกอบด้วย 1) ช่องทางการให้บริการ 2) เป้าหมายของปัญหาที่ให้บริการ 3) ประเภทการให้บริการ 4) ขั้นตอนการให้บริการปรึกษา 5) การสรุปผล/การส่งต่อ และ 3. ขั้นติดตามและประเมินผล มีระบบการบันทึกข้อมูลที่ครอบคลุมกิจกรรมและการให้บริการการปรึกษาที่มีอยู่ทั้งบริการเชิงรุกและเชิงรับ มีการจัดประชุมร่วมกันเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้า ความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564, และนโยบายกรมสุขภาพจิต ประจำปี 2560 – 2561. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.

คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร. (2558). เยียวยาใจด้วยธรรมะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ต้นน้ำ.

ประภาพร ธาราสายทอง. (2546). ภูมิทัศน์เพื่อการบำบัดจิตใจ (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิสถาปัตยกรรม). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พรนภิส สุตโต. (2562). ผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธ. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 2(1),หน้า 60-68.

พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ชำระเพิ่มเติม ช่วงที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตโต). (2562) มีวัดเป็รมณีย์ มีกุฏีเป็นที่สบาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์ จำกัด.

สุภาพร ประดับสมุทร. (2552). การเกิดปัญญาในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

อภิชาต จำรัสฤทธิรงค์, ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัญญา ชูเลิศ. (2556). แนวทางการประชุมปรึกษารายกรณี:ในสถานศึกษา สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.

อมราพร สุรการ และคณะ. (2557). การดูแลสุขภาพจิต : การมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(12), หน้า 176-184.

อรศรี งามวิทยาพงค์ และคณะ. (2558). ปัจจัยที่เอื้อต่อการฟื้นฟูบทบาทหน้าที่การพัฒนาจิตวิญญาณของวัดในเขตเมือง (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

Elisabeth A. Nesbit Sbanotto, Heather Gingrich, Fred C. Gingrich.(2001) Skill for Effective Counseling: A Faith- Based Integration, New Jersey: Prentice hall.

Kaplans & Kaplans. (1989). The Experience of Nature : A Psychological Perspective. Newyork : Cambridge University press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-07