การพัฒนารูปแบบและกระบวนการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุวัฒสัน รักขันโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, กระบวนการปรึกษา, ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบและกระบวนการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต 2) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบและกระบวนการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระสงฆ์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจิตอาสาให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา จำนวน 30 รูป/คน ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired-Samples t-test และใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบและกระบวนการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต โดยใช้กระบวนการปรึกษาตามหลักไตรสิกขาผู้ให้การปรึกษาส่วนใหญ่มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับการปรึกษา เพื่อให้รู้สึกอบอุ่นใจมากขึ้น ด้านสมาธิผู้ให้การปรึกษามีทักษะการฟังอย่างตั้งใจในการสำรวจปัญหาของผู้รับการปรึกษา ด้านปัญญามีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการจัดการให้การปรึกษาต่อผู้รับการศึกษา 2) รูปแบบกระบวนการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิตการจัดคลินิกเฉพาะไว้ในกิจกรรมให้การปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม สามารถให้การปรึกษากับนิสิต และบุคลากรได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มาขอรับคำปรึกษาให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองเข้าใจ และยอมรับตนเองในด้านต่างๆ มากขึ้น 3) รูปแบบและกระบวนการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต ขั้นตอนในการปฏิบัติงานของคลินิกพุทธจิตวิทยา โดยมีแนวทางการปฏิบัติ 6 ด้าน คือ 1. การใช้สื่อสารสองทางสร้างสัมพันธภาพ 2. สำรวจปัญหาความต้องการของผู้รับปรึกษาตามหาแนวทาง 3. เลือกทางแก้ปัญหาไม่ตัดสินใจแทนผู้รับคำปรึกษา 4. วางแผนในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะ 5. ยุติการปรึกษา 6. นัดหมายครั้งต่อไปและปิดเรื่องราวไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด

Author Biography

พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

References

จําลอง ดิษยวณิช. (2554). จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่ : บริษัท กลางเวียงการพิมพ์ จํากัด.

ประทีป พืชทองหลาง. (2557). รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการให้คําปรึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา.

วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. (2559). การพัฒนารูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของพระสงฆ์ที่มีบทบาทให้การปรึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชรา ทองมอญ. (2541). การศึกษานําหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการให้การปรึกษาเพื่อลดความเครียดของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโครงการของโรงพยาบาลบําราศนราดูร (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

Department of Mental Health. (2005). Mental Health Awareness Guide. (2nd ed.). Bangkok: Printing Agriculture Cooperatives of Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-07