ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของพระสังฆาธิการในการบริหารวัด

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดสิทธิศักดิ์ จตุรภัทรพิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ประสิทธิผล, การบริหารวัด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวัด ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของพระสังฆาธิการ นักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่รวบรวมแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวัด ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ พระสังฆาธิการต้องมีภูมิรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสอย่างชัดเจน มีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา  สถานการณ์ทั่วไปและรอบข้าง มีภูมิธรรม คือต้องเข้าใจหลักธรรมอย่างลึกซึ้งและสามารถในการเผยแผ่ธรรมะ มีภูมิฐาน คือ ต้องมีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงาม มีความขยันอดทน มีความเมตตา มีความเสียสละ ไม่เห็นแก่ลาภ ยศ อามิส และมีภูมิบริหาร คือ ต้องรู้และเข้าใจในการวางแผน การบริหารโครงการการจัดระบบงาน/แบ่งงานกันทำการมอบหมายหน้าที่มีการจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมงาน การประสานงาน การเสนอรายงาน การทำงานเป็นหมู่คณะ มีความโปร่งใสในการบริหารเงินของวัด และ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ พระสังฆาธิการต้องมีการส่งเสริมการศึกษา การจัดการมุ่งประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่า การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด การอบรมสั่งสอนหลักคุณธรรมจริยธรรม ความสามารถในการประสานงานกับฝ่ายอาณาจักร การสงเคราะห์สังคม และการจัดการศึกษาสาธาณสงเคราะห์

References

คนึงนิตย์ จันทบุตร และสุบรรณ จันทบุตร. (2545). สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม.

ทินพันธ์ นาคตะ. (2529). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2554). ทฤษฎีองค์การและการออกแบบ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ประเวศ วะสี. (2539). พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคม .คู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2545). การจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนา. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2546). บทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนากับการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชี่ยง.

พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. (2539). การบริหารวัด. กรุงเทพฯ: สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2549). คุณภาพชีวิตการทํางาน. กรุงเทพ ฯ : สุวีริยาสาส์น.

วีระพันธ์ เขมะนุเชษฐ์. (2559). ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2562, จาก http://bankusayei.blogspot.com/2015/01/blog-post.html#comment-form.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (2540). นวโกวาท ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2536). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2546). หลักการบริหารวัดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม.

Fiedler, F.E. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw –Hill.

Seashore, S.E. & Yuchtman, E. (1967). Factorial Analysis of Organizational Performance. Administrative Sciences Quartery.

Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-06