ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ รุ่นที่ 9 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจในการเรียน, นักเรียนนายสิบตํารวจ, ศูนย์ฝึกอบรมตํารวจภูธรภาค 3บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ รุ่นที่ 9 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนนายสิบตำรวจ รุ่นที่ 9 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยนักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 600 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน ได้จากการคำนวณโดยสูตรของ Taro Yamane (1967) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล เป็นเพศชายทั้งหมด ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 - 22 ปี สถานภาพโสด และมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจอันดับแรกคือ ด้านโอกาสในการเจริญเติบโตในงานและความก้าวหน้า (Mean = 4.07) รองลงมา ด้านการได้รับการยอมรับ (Mean = 3.89) ด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Mean = 3.85) ด้านอุปกรณ์การเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวก (Mean = 3.73) และด้านสภาพในการเรียนและสภาพแวดล้อม (Mean = 3.50) ด้านผลตอบแทนที่ได้รับ (Mean = 3.22) เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.71) การศึกษาความคิดเห็นต่อความพึงพอใจในการเรียน อันดับแรกพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจที่จะสำเร็จการศึกษา รองลงมาคือเห็นครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ต้องการพัฒนาความรู้ ต้องการสร้างประสบการณ์ในการทำงาน ต้องการเป็นผู้มีสุขภาพและบุคลิกที่ดี ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ
References
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สํานักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พยอม วงศ์สารศรี. (2537). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2536). การวิเคราะห์อภิมานเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบและแบบวัด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพ: พัฒนาการศึกษา.
สำนักทดสอบการศึกษา. (2542). การประกันคุณภาพสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
เสงี่ยม ศุภผล. (2540). ความพึงพอใจของลูกจ้างต่อระบบและกระบวนการการให้บริการของกองทุนเงินทดแทนภายใต้พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537: กรณีศึกษาสํานักงานประกันสังคมจังหวัดยโสธร (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อานาจ จันทร์แป้น. (2542). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติระดับโรงเรียน. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์
อ้อยทิพย์ กองสมบัติ. (2538). ความพึงพอใจของลูกค้าในการรับบริการของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาเลิงนกทาและสาขามุกดาหาร (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Good Carter Victor. (1973). Dictionary of Education (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
Joyce, B. & M. Weil. (1996). Models of teaching (5th ed). Boston: Allyn and Bacon.
Wolman, Benjamin B. (1973). Dictionary of Behavioral Sciences. Van Nor Stand: Reinhold Company.