รูปแบบการเยียวยาเพื่อเสร้างความเข้มแข็งทางใจตามแนวพุทธจิตวิทยาของสตรีที่ผิดหวังในความรัก

ผู้แต่ง

  • ธีระธรรม ทองโมถ่าย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็งทางจิตใจ, พุทธจิตวิทยา, ความผิดหวัง, ความรัก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาและจิตวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเยียวยาจิตใจของสตรีที่ผิดหวังในความรักตามแนวคิดพระพุทธศาสนาและแนวคิดทฤษฎีตะวันตก 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจของสตรีที่ผิดหวังในความรัก และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการเยียวยาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจตามแนวพุทธจิตวิทยาของสตรีที่ผิดหวังในความรัก 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเยียวยาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจตามแนวพุทธจิตวิทยาของสตรีที่ผิดหวังในความรัก

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักการเยียวยาจิตใจของสตรีที่ผิดหวังในความรักตามแนวคิดพุทธศาสนาและแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยา โดยพบว่า ทฤษฎีจิตวิทยาตะวันตกเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์ ส่วนหลักการเยียวยาทางพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาตนเองในการใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง

2. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจของสตรีที่ผิดหวังในความรัก คือ โลกธรรม 8 พละ 5 และไตรสิกขา

3. รูปแบบการเยียวยาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจตามแนวพุทธจิตวิทยาของสตรีที่ผิดหวังในความรัก ผู้วิจัยนำเสนอเป็น 4 ประเด็นคือ 1. มุมมองต่อความสำคัญของความรักกับชีวิต 2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรักของชายหญิง 3. สาเหตุของการผิดหวังในความรักของสตรีและผลกระทบที่มีต่อชีวิต 4. กระบวนการสร้างความเข้มแข็งในการเยียวยาจิตใจตามแนวพุทธจิตวิทยา

4. ผลการนำเสนอรูปแบบการเยียวยาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจตามแนวพุทธจิตวิทยาของสตรีที่ผิดหวังในความรัก ด้านการประเมินความตรง ความเที่ยงและการตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกประเด็นอยู่ในระดับดี

References

ทิพาวรรณ บูรณสิน. (2015). นิยามรัก 2015 (สุขภาพดีเริ่มต้นที่นี่). กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.

เทวิกา ประดิฐบาทุกา. (2562). เรื่องราวของความรัก. สืบค้น 26 เมษายน 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/561277

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). ถึงเวลาพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2555). คู่มือมนุษย์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสถาพร.

มณฑิรา พรศาลนุวัฒน์. (2547). เอ็นโดฟินส์ สารแห่งความรัก บำบัดโรค. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ฐานการพิมพ์.

อัจฉรา สุขารมณ์. (2559). การฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต Resilience Quotient: RQ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(1), 103-119.

Grotberg E. H.. (1995). A guide to promoting resilience in children : Strengthening the human spirit. Netherlands : The Bernard Van Leer Foundation.

Sternberg Robert J.. (2004). “A Triangular Theory of Love”. In Reis. H. T.; Rusbult. C.E. Close Relationships. New York: Psychology Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31