การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักโอวาทปาติโมกข์ : หลักการ อุดมการณ์และวิธีการ

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุริยา อภิวฑฺฒโน (มะสันเทียะ) สำนักเรียนพระปริยัติธรรมพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

โอวาทปาติโมกข์, หลักการ, อุดมการณ์, วิธีการ

บทคัดย่อ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการน้อมนำหลักพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ตรัสหลักการไว้เป็นเบื้องต้น หรือกำหนดเป็นนโยบายหลักในการทำงาน จากนั้น จึงนำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ของการเผยแผ่ให้สอดคล้องกับนโยบาย หลักการดำเนินการอยู่ในแนวทางแห่งความพ้นทุกข์ ทั้งนี้ โดยมีพระพุทธพจน์เป็นหลักการใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์หลังจากที่ทรงตรัสรู้ได้ 9 เดือน ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ  ณ เมือง ราชคฤห์ แคว้นมคธ ประกอบด้วยองค์ 4 ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต กล่าว คือ 1. วันนั้นเป็นวันเพ็ญมาฆปูรณมี  2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. พระภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ และ 4. พระภิกษุเหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุ  คือ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวให้อุปสมบทด่วยพระองค์เอง

ความสําคัญของโอวาทปาฏิโมกข มี 13 ประการ คือ หลักการ 3 หมายถึง สาระสําคัญที่ควรยึดถือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ การไม่ทําบาปทั้งปวง การทํากุศลให้ถึงพร้อม และการทําจิตให้ผ่องใส อุดมการณ์ 4 หมายถึง การบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ความอดทน ความไม่เบียดเบียน ความสงบ และนิพพาน วิธีการ 6 หมายถึง  แนวทางในการปฏิบัติสําหรับนักบวช ได้แก่ การไม่ว่าร้าย การไม่ทําร้าย การสํารวมในปาฏิโมกข์ การรู้จักประมาณ การอยู่ในสถานที่ที่สงัดและการฝึกหัดจิตใจให้สงบละเอียด

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

__________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. (2532 – 2534). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธวรญาณ กิตติ บัวอ่อน ป.ธ.8. (2548). ธรรมญาณนิพนธ์ : 100 ปีพระพุทธวรญาณ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาสมชาย กลิ่นจันทร์. (2559). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา : การพัฒนารูปแบบและวิธีการเชิงรุกของคณะสงฆ์ไทยจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 12(3) กันยายน–ธันวาคม.

พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (นิรันดร์ ศิริรัตน์) และนิศากร บุญอาจ. (2561). รูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา, วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(3) กันยายน–ธันวาคม.

วีระ อาพันสุข. (2516). พุทธธรรมกับการบริหารบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เอราวัณการพิมพ์.

เดือน คําดี. (2541). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01