ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคน ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยโดยการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ชุณิภา เปิดโลกนิมิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อนทางสังคม, สิทธิมนุษยชน, ผู้มีความหลากหลายทางเพศ

บทคัดย่อ

การถูกเบียดขับให้เป็นชายขอบในสังคมไทย นำมาซึ่งการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานจากรัฐ บทความชิ้นนี้ ได้นำหลักธรรมที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบเหตุการณ์ในสังคมไทย เพื่อเป็นการสะท้อนความเป็นจริงในความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ผลการค้นคว้าพบว่า การไร้ตัวตนและพื้นที่ทางสังคม ส่งผลให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำความรุนแรงในรูปแบบเชิงโครงสร้าง ขณะเดียวกันระบบความคิด ความเชื่อ และการกระทำทุกรูปแบบที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำ พบว่า ในหลักธรรมที่ส่งเสริมมนุษยชนในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้ปลูกฝังระบบความคิด ความเชื่อที่ส่งผลต่อการกระทำดังกล่าว แต่เป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีสิทธิที่ตนเองพึงจะได้รับ หลักธรรมที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา จึงเป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่เป็นการสนับสนุนการประพฤติปฏิบัติเกิดการเคารพสิทธิมนุษยชน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ซึ่งหลักธรรมเบื้องต้นนั่นก็คือหลักเบญจศีล

References

กมล กมลตระกูล. (2548). เอกสารบรรยายเรื่องสิทธิมนุษยชนและกลไกการคุ้มครองสิทธิ. นครราชสีมา: เทคโนโลยีสุรนารี.

คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน. (2544). กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ฟรีดริค เอแบร์ท.

สุไลพร ชลวิไล และอโนพร เครือแตง. (2562). เพศแห่งสยาม ประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศ. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้.

เสน่ห์ จามริก. (2545). พุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2545). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระสมหมาย อตฺถสิทฺโธ (พืชสิงห์). (2557). ศึกษาสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา.

บุษกร สุริยะสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2554). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของคนข้ามเพศ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมวิทยา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

วิจิตร ว่องวารีทิพย์. (2559). ความหลากหลายทางเพศในแบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ.

Garner, R. T. (1999). Virtual social movements. Presented at The Zaldfest : a conference in honor of Mayer Zald, University of Michigan Ann arbor Mi.

McCarthy, J. D. Zald, M. N. (1977). Resource mobilization and socialmovements: A partial theory. American journal of sociology, 82(6), 1212-1241.

Tilly, C. (1986). The Contentious French. Cambridge. Harward University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01